• 02-4410-0909
  • ict@mahidol.ac.th
  • มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา, นครปฐม

ถาม-ตอบ (Q&A)

เกี่ยวกับงาน Mahidol AI Hackathon 2023 หัวข้อ “AI for Library Services”

Hackathon คือ งานระดมสมองและสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วนข้ามวันข้ามคืนเป็นเวลา 2 วันเต็ม แบบต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง  ซึ่งครั้งนี้จะเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลมารวมตัวกันโดยเน้นคอนเซปท์ Build – Measure- Learn – Share ร่วมกันระดมสมอง คิดค้น และพัฒนานวัตกรรม หรือ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้าน AI แล้วแปลงไอเดียเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (prototype) พร้อมออกไปทดสอบใช้งานได้จริง ๆ รวมถึงสามารถปรึกษา Mentor เพื่อปรับปรุงแก้ไขและนำเสนองาน ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มักจะเป็น “ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ” หรือ “concept ที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้” และสามารถนำไปพัฒนาต่อเนื่องได้หลังจากงาน Hackathon

สำหรับการแข่งขัน Mahidol AI Hackathon: หัวข้อ “AI for Library Services” จะเน้นความคิดในการออกแบบและจัดทำนวัตกรรมใหม่เกี่ยวกับบริการของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ดีในการวิเคราะห์ จำแนก จัดระบบสืบค้น และเข้าถึงสารสนเทศ ซึ่งจากสถิติพบว่ามีถูกต้องแม่นยำในระดับสูงมาก รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยได้มีโอกาสเข้าร่วมและได้เรียนรู้เกี่ยวกับการหาคำตอบด้านการส่งเสริมกิจกรรมการอ่านหนังสือแนวใหม่ให้กับผู้ใช้งาน รวมถึงการพัฒนาและส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมด้านการให้บริการของห้องสมุด เพื่อตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเพื่อก้าวสู่ Thailand 4.0 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันนำเสนอผลงาน จัดทำเป็นรูปแบบของ presentation ขนาดสั้นไม่เกิน 12 นาที ที่แนะนำทีมงานและ ไอเดียคร่าว ๆ ที่จะทำใน Hackathon, Pain Point อะไรที่คุณกำลังจะแก้, ปัญหานี้ทำไมถึงใหญ่ และสำคัญ พร้อมเหตุผลว่าทำไมเราจึงควรเลือกทีมคุณ

เฉพาะ 15 ทีม  ที่ผ่านการคัดเลือก จะได้เข้าร่วมแข่งขัน  โดยมี session ที่สำคัญ ดังนี้

  • Lecture Session ร่วมฟังบรรยายเพื่อให้เห็นภาพใหญ่ของงานบริการของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมตัวอย่างกรณีศึกษา ในหัวข้อ “AI for Library Services” (30 นาที) และการให้ความรู้ต่าง ๆ ด้าน AI + Tools +  Visualization (1 ชม.) เช่น การสร้าง Prototype อย่างรวดเร็ว หลังจากนั้น จะเป็นการมอบโจทย์และประเด็นสำหรับการออกแบบ นวัตกรรม+ถาม-ตอบ และแนะนำคณะกรรมการตัดสิน+เกณฑ์การให้คะแนน
  • Mentoring Session ให้ทีมได้พูดคุยปรึกษา mentor ซึ่งเป็นนักศึกษา senior ของคณะ ICT เพื่อขอคำแนะนำ และความเห็น ในการพัฒนาต่อยอดไอเดีย มีเวลาจัดสรรให้ทีมได้ทำงาน เพื่อระดมสมองปรับแผนงาน แก้ไขพัฒนา Product ต่อ ตามที่ได้รับ feedback เพิ่มเติมจาก mentor
  • Final Round Pitch on Stage (Pitch + Q&A 12 mins /Team)
  • Scan QR เพื่อดู agenda ของวันงาน Hackathon ได้ที่ >>

  1. เงินรางวัล
    • รางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 เงินรางวัลทีมละ 30,000 บาท
    • รางวัลชนะเลิศ อันดับ 2 เงินรางวัลทีมละ 15,000 บาท
    • รางวัลชนะเลิศ อันดับ 3 เงินรางวัลทีมละ 10,000 บาท
    • รางวัลชมเชย (3 รางวัล) เงินรางวัลทีมละ  3,000 บาท
    • รางวัลพิเศษระหว่างการแข่งขัน (4 รางวัล) เงินรางวัลทีมละ 1,500 บาท
  1. เกียรติบัตรการเข้าร่วมกิจกรรม AI Hackathon (ตามเกณฑ์ที่กำหนด)
  2. คะแนนกิจกรรม (Activity Transcript)
    • Innovation : ไอเดีย/ผลิตภัณฑ์ มีความสร้างสรรค์ น่าสนใจ มีนวัตกรรม มีประโยชน์ และมี Impact ต่อการให้พัฒนางานบริการของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล
    • Business Model : ไอเดีย/ผลิตภัณฑ์ สามารถทำได้ในสภาพธุรกิจจริง
    • Synergy: ไอเดีย/ผลิตภัณฑ์ มีความเกี่ยวข้อง และมีความเป็นไปได้ ที่จะสามารถต่อยอดงานบริการของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลได้
    • Presentation: อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย ข้อมูลสำคัญครบถ้วน รวมถึงสามารถสร้างความน่าสนใจในการนำเสนอผลงาน รวมถึงการตอบคำถามของคณะกรรมการผู้พิจารณา
    • เมื่อมาถึงตึก ICT ให้น้องรอเพื่อน ๆ สมาชิกในทีมให้ครบก่อน ช่วงที่รอตั้งแต่ 7 โมงเช้าเป็นต้นไป จะมีอาหารเช้าแบบรองท้อง เตรียมบริการไว้ให้กับน้องนักศึกษาที่มาแข่งขันทุกคน
    • ทีมที่สมาชิกมาครบแล้ว ให้ไปที่จุดลงทะเบียน เพื่อลงชื่อรับกระเป๋าเอกสาร+ป้ายชื่อ+เสื้อแข่งขัน (แจกเป็นกลุ่ม)
    • ลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ให้ทีมที่สมาชิกพร้อมแล้ว เดินไปที่จุด Group Photo จะมีพี่ ๆ เจ้าหน้าที่ทีมโสตฯ ประจำจุดอยู่เพื่อถ่ายภาพให้น้อง ๆ พวกน้องๆ  มีหน้าที่โพสต์ท่าเก๋ ๆ ปัง ๆ แบบว่าโลกต้องจำฉันได้  เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ณ จุดนี้
    • จากนั้น จะมีเจ้าหน้าที่นำทางไปที่ชั้น 4 ห้อง Grand Auditorium เพื่อรอเวลาพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ ในเวลา 9.00 น.
    • นักศึกษาแต่ละทีมต้องจัดเตรียม Notebook มาเพื่อใช้ในการแข่งขันอย่างน้อย 1 เครื่อง โดยทางคณะ ICT จะมีเครื่องสำรองให้บริการ ทีมละ 1 เครื่องเท่านั้น และต้องกรอกเอกสารยืม-คืนเครื่องกับเจ้าหน้าที่ที่กำกับดูแล (คุณประพฤทธิ์)
    • งาน Hackathon นี้ ไม่ต้องห่วงเรื่องอาหารการกิน มีให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง เดินไปหยิบได้เสมอ หิวเมื่อไหร่ก้อแวะมาที่จุด Snake zone ได้เลย
    • ส่วนเรื่องที่นอนนั้น ให้ใช้พื้นที่ภายในบริเวณห้องแข่งขัน (ห้อง Bits & Bytes) ประมาณว่า ทำงานตรงไหน นอนตรงนั้น หรือจะหามุมสงบ ๆ ปลีกวิเวกนอนได้เลย ดังนั้น ขอให้น้อง ๆ แต่ละคน เตรียมถุงนอน + หมอน + ผ้าห่ม + ของใช้ส่วนตัว เช่น แปรงสีฟัน ยาสีฟัน ครีมอาบน้ำ ยาประจำตัว มาด้วย
    • ห้องน้ำ และห้องอาบน้ำ จะแยกห้องชาย-หญิง ชัดเจน สามารถใช้บริการได้ตั้งแต่ชั้น 1 – 4
    • ทางคณะผู้จัดงานฯ จะไม่อนุญาตให้นักศึกษาที่เข้าแข่งขันออกจากตึก ICT หลังเวลา 24.00 น. (หลังเที่ยงคืน) ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของน้อง ๆ นักศึกษาทุกคน ยกเว้นกรณีจำเป็นหรือเหตุสุดวิสัย จะต้องทำเรื่องขออนุญาตเข้า-ออกนอกตึก กับเจ้าหน้าที่ที่กำกับดูแลในช่วงเวลานั้น (คุณยุทธนา)