เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก “ยอมรับ”

8 ทีมนักศึกษา ICT ม.มหิดล (ICT Mahidol) ผ่านเข้าสู่รอบนำเสนอผลงาน จากการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24 (NSC 2022)

เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2564 นักศึกษาคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล  ผ่านการพิจารณารอบแรก (รอบคัดเลือกข้อเสนอโครงการ) เพื่อเข้าสู่รอบนำเสนอผลงาน และ ได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนา โครงการละ 3,000 บาท จากโครงการ “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 24” (The Twenty-Fourth National Software Contest : NSC 2022)

โครงการ “การแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย” เป็นโครงการที่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในระดับนักเรียน นิสิต นักศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะความคิดริเริ่มในการเขียนโปรแกรมอันจะเป็นรากฐานที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านซอฟต์แวร์ในอนาคต เพื่อสร้างและพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทางด้านการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้สามารถเกิดประโยชน์ในการนำไปใช้ต่อไป เพื่อสร้างเวทีการแข่งขันและสร้างความสนใจสำหรับเยาวชนที่มีความสามารถด้านคอมพิวเตอร์และเทคนิคการเขียนโปรแกรม และเพื่อให้ได้ซอฟต์แวร์ต้นแบบที่หลากหลายซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ซึ่งในปีนี้ นักศึกษาคณะ ICT ม.มหิดล ผ่านเข้าสู่รอบนำเสนอผลงานจำนวน 8 ทีม จากทีมที่เข้ารอบจากภาคตะวันตก จำนวนทั้งสิ้น 32 ทีม โดยมีรายละเอียดดังนี้

ลำดับ

อาจารย์ที่ปรึกษา

ชื่อโครงการ

หมวดโครงการ

นักศึกษา

1

ผศ.ดร.โมเรศ ปรัชญพฤทธิ์

โปรแกรมการจำลองการฝึกส่องกล้องภายในหัวไหล่บนเทคโนโลยี Virtual-Reality

โปรแกรมเพื่อการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้

นายอนาคิน พัชโรทัย

นายรัฐนันท์ คัมภีรศาสตร์

นายสฤษฏ์พงศ์ อุดมมงคลกิจ

2

ดร. ชัยยงค์ รักขิตเวชสกุล

ไมโครยูซิตี้ โปรแกรมเพื่อการทดสอบความปลอดภัยของระบบไมโครเซอร์วิสเพื่อศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้ด้าน API Security

โปรแกรมเพื่อการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้

นางสาวจันสิดา มกรานนท์

นายภัทรกฤต รัตตานุกูล

นายภูมิภัทร วัฒนกุลจรัส

3

ดร. เพชร สัจจชลพันธ์

COF-LEARN: ระบบเสริมสร้างการเรียนรู้ด้านการคั่วเมล็ดกาแฟโดยใช้เทคโนโลยีการประมวลผลจากรูปภาพ

โปรแกรมเพื่อการศึกษาและส่งเสริมการเรียนรู้

นายปิยกร สุวรรณกาญจน์

นายเอกวิทย์ แสงเรืองกิจ

นางสาวปิญาดา พัฒนะธารณา

4

ดร. อัคร สุประทักษ์

ซากะมะ: เว็บไซต์ที่สามารถซ่อนคิวอาร์โค้ดไว้ในรูปภาพ

โปรแกรมเพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

นางสาวปรีชญา วรรณภูมิ

นางสาวสุมุนา ไทยเจีย

นางสาวสรัลนุช ตรงตอศักดิ์

5

Professor Dr. Peter Haddawy

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับการจำแนกสายพันธุ์และเพศของยุงด้วยเทคโนโลยีการเรียนรู้แบบเชิงลึก

โปรแกรมเพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

นายวรเมธ สิริธนากร

นายธฤต ฉันธนะเลิศวิไล

นางสาวกานต์รวี เจียมสกุล

6

Professor Dr. Peter Haddawy

การวิเคราะห์เพื่อทำนายผลโรคไข้เลือดออกในผู้ป่วยเด็กที่คาดว่ามีไข้เดงกี

โปรแกรมเพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม

นางสาวอนัญญา ปิเนโด เบโย

นายณัฐพงศ์ ทรงศักดิ์ศรี

นายโชติวิทย์ ปิติปัญจไพบูลย์

7

ดร. ธนพล นรเสฏฐ์

eSit: ระบบสำหรับตรวจจับท่านั่งตามหลักการยศาสตร์โดยใช้คอมพิวเตอร์วิทัศน์

โปรแกรมเพื่อใช้ภายใต้สถานการณ์โควิค-19และโรคติดเชื้ออุบัติใหม่

นางสาวจิรัชญา ว่องสรรพการ

นางสาววิภาดา แก้วทอง

Mr. Soksedtha Ly

8

 

 ดร. ศิริเพ็ญ พงษ์ไพเชฐ

 

อีซี่ฟิต

โปรแกรมเพื่อใช้ภายใต้สถานการณ์โควิค-19และโรคติดเชื้ออุบัติใหม่

นายอริยะ สนทราพรพล

นายเอกพัฒน์ เสียมทอง

 นายสุปวีณ์ ฝอยทอง

ดาวน์โหลดข่าว