[MUICT-AST Tech Competition] “Byte เกมคิด ฟิตสมอง”

ประกวดแข่งขัน
จัดทำบอร์ดเกมแบบดิจิทัล

ภายใต้หัวข้อ Byte-sized Brain Games สำหรับนักพัฒนารุ่นเยาว์

08 Days
15 Hours
06 Minutes
47 Seconds

เกี่ยวกับโครงการ

[MUICT-AST Tech Competition] “Byte เกมคิด ฟิตสมอง” คือโครงการการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยงานบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล โดยเป็นการแข่งขันจัดทำบอร์ดเกมแบบดิจิทัลภายใต้หัวข้อ Byte-sized Brain Games

ในการแข่งขันนี้ ผู้เข้าแข่งขันจับกลุ่มเป็นทีม ทีมละ 3 คน ต้องพัฒนาต้นแบบ (Prototype) บอร์ดเกมแบบดิจิทัล (Digital Boardgame) ซึ่งหมายถึง การนำประสบการณ์การเล่นบอร์ดเกมแบบดั้งเดิมมาปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบของแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ที่สามารถเล่นได้บนอุปกรณ์ดิจิทัล เช่น คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต สมาร์ตโฟน หรือแม้แต่เครื่องเล่นเกมคอนโซล โดยหัวใจสำคัญคือ การจำลองและเพิ่มขีดความสามารถของบอร์ดเกมในโลกดิจิทัล โดยยังคงรักษาแก่นของการเล่นบอร์ดเกม เอาไว้ อันประกอบไปด้วย

  1. กฎและกลไก (Rules & Mechanics): ยังคงมีกติกาการเล่นที่ชัดเจน มีการใช้ลูกเต๋า การ์ด หรือหมากตัวเดินต่าง ๆ
  2. การปฏิสัมพันธ์ของผู้เล่น (Player Interaction): ผู้เล่นยังคงมีการตัดสินใจ วางแผน แข่งขัน หรือร่วมมือกันตามธรรมชาติของบอร์ดเกม
  3. กระดานหรือพื้นที่เล่น (Board or Playing Area): มีการแสดงผลของ “กระดาน” หรือพื้นที่ที่ใช้ในการเล่นเกมอย่างชัดเจน

โดยผู้เข้าแข่งขันเลือกออกแบบและพัฒนาบอร์ดเกมแบบดิจิทัลภายใต้หัวข้อ ‘Byte-Sized Brain Games’ จากไอเดียเล็ก ๆ สู่เกมลับสมองระดับบิ๊กไบต์ นำเสนอการใช้เทคโนโลยีและตรรกะเพื่อนำเสนอเรื่องราวของโลกดิจิทัล เช่น

  • บอร์ดเกมที่จำลองสถานการณ์การทำงานของปัญญาประดิษฐ์
  • บอร์ดเกมที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ การบริหารจัดการข้อมูล หรือการรักษาความปลอดภัยของระบบ
  • บอร์ดเกมที่สำรวจแนวคิดของเทคโนโลยีแห่งอนาคต นวัตกรรม หรือการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ในโลกดิจิทัล
  • บอร์ดเกมที่เน้นการฝึกฝนทักษะการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking)

กำหนดการ

รับสมัคร

วันนี้ – 3 สิงหาคม 2568

คัดเลือก

4 – 8 สิงหาคม 2568

ประกาศผลผู้ผ่านการคัดเลือก

9 สิงหาคม 2568

ยืนยันสิทธิ์

9 – 12 สิงหาคม 2568

สร้างผลงาน

9 สิงหาคม – 25 กันยายน 2568

นำเสนอผลงานและประกาศรางวัล

27 กันยายน 2568

คุณสมบัติผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ

  • รับจำนวน 20 ทีม ทีมละ 1 – 3 คน
  • กำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 หรือ ปวช หรือ โฮมสคูล (Home school)
  • ในกรณีผู้สมัครเป็นผู้เรียนโฮมสคูล (Home school) ต้องมีอายุระหว่าง 15 – 18 ปีบริบูรณ์ (นับตามวันที่สมัคร) และได้รับการรับรองจากผู้ปกครอง
  • สมาชิกภายในทีม ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มาจากสถาบันการศึกษาเดียวกัน

รอบคัดเลือก

ผู้เข้าแข่งขันส่งข้อเสนอโครงการ (Project Proposal) ซึ่งประกอบไปด้วย

  1. ชื่องาน: ชื่อของเกม
  2. แนวคิด / ธีมของเกม: อธิบายว่าเกมนี้เกี่ยวกับอะไร มีโลกทัศน์แบบไหน ผู้เล่นจะสวมบทบาทเป็นอะไร
  3. ปัญหาที่ต้องการแก้ไข / ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ: เกมนี้สร้างขึ้นเพื่ออะไร แก้ปัญหาอะไรให้ผู้เล่น หรือให้ความบันเทิงในรูปแบบไหน
  4. กลุ่มเป้าหมาย: ใครคือผู้เล่นหลักของเกมนี้
  5. รูปแบบการพัฒนาและแพลตฟอร์มเป้าหมาย: อธิบายถึงเครื่องมือในการพัฒนาตัวเกมต้นแบบและแพลตฟอร์มของตัวชิ้นงาน
  6. วัตถุประสงค์ของเกม (เป้าหมายการชนะ): ผู้เล่นจะชนะเกมนี้ได้อย่างไร
  7. จำนวนผู้เล่น: ระบุจำนวนผู้เล่นที่เหมาะสม เช่น 1 – 4 คน (เล่นคนเดียวกับระบบหรือเล่นออนไลน์กับเพื่อน)
  8. กลไกหลักของเกม: อธิบายวิธีการเล่นหลัก ๆ ที่ทำให้เกมดำเนินไป เช่น
    • การทอยลูกเต๋าแล้วเดินบนกระดาน
    • การจั่วการ์ดภารกิจหรือการ์ดคำถาม
    • การวางหมากเพื่อควบคุมพื้นที่
    • การบริหารจัดการทรัพยากร
  1. ความแตกต่าง/จุดเด่น: สิ่งที่ทำให้งานชิ้นนี้โดดเด่นและน่าสนใจกว่าเกมอื่น ๆ ที่มีอยู่แล้ว
  2. ภาพร่าง/ผังโครงสร้างของส่วนเชื่อมต่อกับผู้ใช้ (User Interface): ภาพเบื้องต้นว่าแอปพลิเคชันจะมีหน้าตาและการทำงานอย่างไร สามารถใช้เครื่องมือออกแบบง่ายๆ เช่น Figma, PowerPoint, Canva, หรือการวาดด้วยมือบนกระดาษแล้วสแกน/ถ่ายภาพให้ชัดเจน โดยเน้นที่โครงสร้างและส่วนประกอบสำคัญ เช่น
    • หน้าจอหลัก: แสดงให้เห็นภาพรวมของกระดาน ส่วนแสดงข้อมูลผู้เล่น การควบคุมหลัก (เช่น ทอยเต๋า ใช้การ์ด)
    • คำอธิบายการทำงาน: อธิบายคร่าวๆ ว่าผู้เล่นจะคลิกหรือแตะส่วนไหนเพื่อไปยังหน้าจอถัดไป หรือทำคำสั่งใด เพื่อให้เห็นภาพการใช้งานโดยรวมของแอปพลิเคชัน
    • แผนการพัฒนา: แสดงช่วงเวลา (วัน/สัปดาห์) ที่จะใช้ในการพัฒนาชิ้นงานต้นแบบในรอบตัดสิน ควรระบุเป้าหมายหลักในการพัฒนาแต่ละช่วงเวลา
    • ข้อมูลอื่น ๆ เพิ่มเติม ตามแต่ที่ผู้เข้าแข่งขันเห็นสมควร

โดยข้อเสนอโครงการจะต้องมีการใช้ภาษาที่ถูกต้อง และมีการใช้ทั้งข้อความ ภาพ ตาราง หรือตัวอย่างประกอบที่ชัดเจนในการอธิบาย และหากเป็นเกมที่มีการนำแนวคิดหรือแรงบันดาลใจมาจากแหล่งอื่น ควรระบุที่มาให้ชัดเจน

ผลงานทุกชิ้นที่ทีมสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อการแข่งขันนี้ ไม่ว่าจะเป็นแนวคิด กฎกติกา การออกแบบ โค้ด หรือแม้แต่สื่อประสมที่นำมาประกอบต่าง ๆ จะต้องเป็นผลงานต้นฉบับของผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด หรือเป็นผลงานที่ได้รับอนุญาตให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง หากมีการใช้ทรัพยากรจากภายนอก เช่น ภาพ เสียง ฟอนต์ หรือไลบรารี ที่ไม่ใช่ของผู้เข้าแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันจะต้องตรวจสอบและระบุแหล่งที่มา รวมถึงเงื่อนไขการอนุญาตใช้งานของทรัพยากรเหล่านั้นอย่างชัดเจนในเอกสารประกอบผลงาน ทางคณะผู้จัดจะไม่รับผิดชอบต่อการละเมิดลิขสิทธิ์หรือข้อพิพาททางทรัพย์สินทางปัญญาใด ๆ ที่เกิดขึ้นจากผลงานของผู้เข้าแข่งขัน ความรับผิดชอบในการใช้ทรัพยากรที่ถูกต้องและไม่ละเมิดลิขสิทธิ์เป็นของทีมผู้เข้าแข่งขันแต่เพียงผู้เดียว

โดยทางคณะกรรมการจะคัดเลือกไม่เกิน 20 ทีม

เกณฑ์การตัดสินรอบคัดเลือก

  1. คะแนนเต็มทั้งหมด 100 คะแนน ประกอบไปด้วย
  2. ความสมบูรณ์ของข้อเสนอโครงการ (10 คะแนน)
  3. แนวคิดของเกมที่เกี่ยวเนื่องกับหัวข้อ Byte-sized Brain Games (10 คะแนน)
  4. ตรรกะและระบบเกม (40 คะแนน)
  5. ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในเชิงแอปพลิเคชันหรือซอฟต์แวร์ (20 คะแนน)
  6. ความเป็นไปได้ในการผลิตผลงานภายใต้กรอบเวลาที่กำหนด (20 คะแนน)

โดยคำตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด และทางคณะกรรมการสงวนสิทธิ์ในการปรับเปลี่ยนกฎกติกา หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ตามความเหมาะสม

รอบตัดสิน (รอบ Pitching)

ผู้เข้าแข่งขันที่ผ่านเข้ารอบนำเสนอชิ้นงานต้นแบบที่แล้วเสร็จโดยอิงจากข้อเสนอโครงการเป็นหลัก (สามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม โดยยังต้องคงรูปแบบตามเดิมจากข้อเสนอโครงการอย่างน้อย 80%) และตอบข้อซักถามต่อหน้าคณะกรรมการที่อาคารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

ในเบื้องต้น สิ่งที่ผู้เข้าแข่งขันต้องนำเสนอและส่งมอบประกอบไปด้วย

  1. ตัวงานต้นแบบ Digital Boardgame ที่เล่นได้จริง ในรูปแบบของไฟล์ที่ติดตั้งได้พร้อมวิธีการติดตั้ง
  2. วิดีโอสาธิตการเล่นเกม ความยาวไม่เกิน 3 – 5 นาที
  3. สไลด์สำหรับนำเสนอในวันจริง ความยาว 7 – 10 นาที โดยผู้เข้าแข่งขันไม่ได้รับอนุญาตให้ทำการแก้ไขสไลด์หลังการส่ง จะต้องใช้ไฟล์นี้ในการนำเสนอเท่านั้น
  4. ซอร์สโค้ดและไฟล์ที่เกี่ยวข้อง พร้อมวิธีการใช้งานและติดตั้ง เพื่อให้คณะกรรมการสามารถตรวจสอบได้ในกรณีที่จำเป็น

ผู้เข้าร่วมการแข่งขันที่ผ่านรอบการคัดเลือกเข้าสู่รอบตัดสินและดำเนินการนำเสนอทุกท่าน จะได้รับเกียรติบัตรเข้าร่วมการแข่งขัน

**หากไม่มาทำการนำเสนอหรือสละสิทธิ์จะไม่ได้รับเกียรติบัตรทุกกรณี

รายละเอียดอื่นๆ จะประกาศให้ทราบในภายหลัง

รายละเอียดในการสมัครและส่งผลงงานในรอบคัดเลือก

  1. กรอกรายละเอียดลงแบบฟอร์มการสมัครให้ครบถ้วน ดาวน์โหลดใบสมัคร
    • สามารถเขียนหรือพิมพ์ก็ได้ตามความสะดวกของผู้สมัคร
    • สามารถใช้ลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ได้
    • ผู้รับรองสามารถเป็นอาจารย์ประจำชั้น หรือ อาจารย์ประจำวิชาได้ ตามความสะดวกของผู้สมัคร
    • ผู้สมัครแต่ละทีม สามารถมีอาจารย์ที่ปรึกษาสำหรับการแข่งขันได้ หรือ ไม่มีก็ได้ ตามความสะดวกของผู้สมัคร
  1. ส่งข้อเสนอโครงการ (Project Proposal)
  2. รวมใบสมัครและข้อเสนอโครงการ (Project Proposal) เป็นไฟล์ PDF ไฟล์เดียว โดยให้ใบสมัครอยู่ในหน้าแรก (โปรดตั้งชื่อไฟล์เป็นชื่อทีม)

สมัครและอัปโหลดไฟล์ได้ที่ https://forms.gle/UgBRsAbLjJrVVZ5L7

รางวัลการแข่งขัน

รางวัลชนะเลิศ

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

รางวัลชมเชย 3 รางวัล

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

พี่ลูกตาล (กัญญศร)
02-441-0909 ต่อ 161, 063-268-9004   อีเมล์: kanyasorn.sud@mahidol.edu   Line Official Account ID: @049pbepn