คณะ ICT ม.มหิดล (ICT Mahidol) ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการแข่งขัน Mahidol AI Hackathon 2 หัวข้อ “Large Language Models for Health Care and Hospital Services”

ระหว่างวันที่ 23 – 24 มีนาคม 2567 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล (ICT Mahidol) จัดโครงการแข่งขัน Mahidol AI Hackathon 2 หัวข้อ “Large Language Models for Health Care and Hospital Services” ณ ห้อง Bits & Bytes Hall ชั้น 4 คณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา ซึ่งเป็นการแข่งขันต่อเนื่องแบบมาราธอน 24 ชั่วโมง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้เรียนรู้และนำเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) Machine Learning (ML) และ Large Language Models (LLMs) ที่ทันสมัย มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ อีกทั้ง ยังเป็นการส่งเสริมการระดมความคิดในการออกแบบ และจัดทำนวัตกรรมใหม่โดยการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาใช้เพื่อส่งเสริมนวัตกรรมด้านสุขภาพและบริการโรงพยาบาล โดยการนำเอา Large Language Models (LLMs) ซึ่งมีศักยภาพในการทำนาย ตัดสินใจ และปรับปรุงการให้บริการทางการแพทย์และโรงพยาบาลในรูปแบบที่น่าสนใจ รวมทั้ง เป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาที่เข้าแข่งขัน ได้นำเสนอและพัฒนาแนวคิดที่สามารถใช้ LLMs มาใช้ในการแก้ไขปัญหาจริง เพื่อส่งเสริมนวัตกรรม และสามารถนำมาปรับปรุงระบบการให้บริการทางการแพทย์ได้ในอนาคต

โดยวันที่ 24 มีนาคม 2567 ดร. พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดี คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล (ICT Mahidol) เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการแข่งขัน Mahidol AI Hackathon 2 หัวข้อ “Large Language Models for Health Care and Hospital Services” โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประพัฒน์ สุริยผล รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล และ คุณพัฒนพรรณ พัฒนแก้ว กรรมการผู้จัดการ บริษัท เทเลเทค โซลูชั่น จำกัด ผู้แทนจาก Alcatel-Lucent Enterprise กล่าวต้อนรับคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้แทนจากบริษัทต่างๆ ที่ร่วมสนับสนุนการแข่งขัน ได้แก่ บริษัท วีเอสที อีซีเอส (ประเทศไทย) บริษัท จีเอเบิล จำกัด และนักศึกษาจากส่วนงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยมหิดลที่เข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 16 ทีม จาก 6 คณะ ได้แก่ คณะ ICT คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะพยาบาลศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ และวิทยาลัยนานาชาติ โดยมี อาจารย์ผกาพร เพ็งศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดโครงการฯ และ ดร. ทิพาจินต์ ไทยพิสุทธิกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยี เป็นพิธีกรดำเนินรายการ ณ ลาน Innovative Space ชั้น 1 คณะ ICT มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

จากนั้นเป็นการนำเสนอผลงานต้นแบบนวัตกรรมจากนักศึกษาทั้ง 16 ทีม ที่เข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อนันต์ ศรีสุภาพ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ปิยนุช ศิลปโชติ อาจารย์ประจำกลุ่มวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะ ICT ดร. ฐิติพัทธ อัชชะกุลวิสุทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัตน์ชัยนันทร์ ธรรมสุจริต อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการข้อมูล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินผลการแข่งขัน

สำหรับช่วงพิธีมอบรางวัลการแข่งขัน ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ประพัฒน์ สุริยผล รองคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นผู้มอบรางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 – 3 และรางวัลพิเศษระหว่างการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก อาจารย์ผกาพร เพ็งศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. รัตน์ชัยนันทร์ ธรรมสุจริต อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการข้อมูล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และ ดร. ฐิติพัทธ อัชชะกุลวิสุทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้กล่าวปิดการแข่งขัน ซึ่งผลการแข่งขัน มีดังนี้

  • รางวัลชนะเลิศ พร้อมเงินรางวัล 30,000 บาท และเกียรติบัตร ได้แก่ ทีม LLM = Little Language Models คณะ ICT ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายปุณญวัจน์ คล้ำเนียม นายกรธวัช วิเศษไพฑูรย์ นางสาวบัณฑิตา พลการ นายจักกาย บริบูรณ์ และนายเอกบดินทร์ กาญจนเมืองทอง
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 พร้อมเงินรางวัล 15,000 บาท และเกียรติบัตร ได้แก่ ทีม HealthScript คณะ ICT ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายปราชญ์ณชัย เมฆไพบูลย์วัฒนา นายไท เมฆรัตนวรกุล นายกฤตัชญ์ พนัสไพรพงศ์ นางสาววริษฐา ธารทองกุล จากคณะ ICT และนายแพทดี้ เดนีแอ จากวิทยาลัยนานาชาติ
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 พร้อมเงินรางวัล 10,000 บาท และเกียรติบัตร ได้แก่ ทีม Majestic Mustangs คณะ ICT ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายภูริวัจน์ อังกูรดิษฐพงศ์ นายดนัยเดช อาจสมัย นางสาวนภหทัย สิทธิฤทธิ์ นายมกรธวัช ยูจีน เอเมอรี่ และนางสาวจิดาภา เชาวนปรีชา
  • รางวัลชมเชย พร้อมเงินรางวัล 3,000 บาท และเกียรติบัตร จำนวน 3 รางวัล ได้แก่
    • ทีม healthy healthy คณะ ICT ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวกัญญาณัฐ สมพงษ์ นางสาวปชณิฐา แซ่เฮ้ง นางสาวฉัตรวีรยา ศรีวิไลลักษณ์ นางสาวปวิตา ผ่องแผ้ว และนายพัทธนันท์ วรกิตสิทธิสาธร
    • ทีม BananaNoBone คณะ ICT ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายภัทรดนัย เเก้วดำเกิง นายธนภัทร ฤทธิฦาชัย นายธีรัตม์ กระจ่างพจน์ นายพุทธิกัญจน์ กิติวรนนท์ และนาย ภูริณัฐ พัฒนแก้ว
    • ทีม IdeationX คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวปริยา ปานเดย์ นางสาวนันท์นภัส บุญศรีเมือง นางสาวสุพิชฌาย์ ตัณฑวิรุฬห์ นายธนัชชนม์ แซ่หวอง จากคณะวิทยาศาสตร์ และนายสมิทธิ์ สัจเดว จากวิทยาลัยนานาชาติ
  • รางวัลพิเศษระหว่างการแข่งขัน พร้อมเงินรางวัล 1,500 บาท และเกียรติบัตร จำนวน 4 รางวัล ได้แก่
    • ทีม healthy healthy คณะ ICT ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวกัญญาณัฐ สมพงษ์ นางสาวปชณิฐา แซ่เฮ้ง นางสาวฉัตรวีรยา ศรีวิไลลักษณ์ นางสาวปวิตา ผ่องแผ้ว และนายพัทธนันท์ วรกิตสิทธิสาธร
    • ทีม HealthCareThon คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายธนากร พงษ์ฤทธิ์ศักดา นางสาวปิยาภรณ์ รู้ยืนยง นางสาวธัญธร อริยเจริญวงศ์ นางสาวจีรณา กัลยา และนายวิชพงษ์ รัตนบรรเทิง
    • ทีม Mongkol คณะ ICT ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวสุภาวดี เชง นางสาวพรนภัสสร เอี่ยมบริสุทธิ์ นางสาวชมกร สนเทศอดิศัย นางสาวณัฏฐณิชา ศิลป์เสวตร์ และนางสาวฐดีญา ดวงแก้ว
    • ทีม ฃฃฃฃฃ คณะคณะวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งสมาชิกในทีมประกอบด้วย นายปรเมศร์ เอี่ยมละออง นางสาวนริศรา พลซื่อ นางสาวจณิชญ์ตา สุขราช นายนัยสันต์ ธามปภา จากคณะวิทยาศาสตร์ และนายมหรรณพ ถาบัว จากคณะวิศวกรรมศาสตร์

โครงการแข่งขัน “Mahidol AI Hackathon” เป็นหนึ่งกิจกรรมในโครงการ Mahidol AI Center ในกลุ่มสาขา AI-Based Medical Diagnosis: โครงการ Center of Excellence in AI-Based Medical Diagnosis (AI-MD) ภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ที่มหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญกับการนำ AI Technology เข้ามาประยุกต์ใช้ในระบบจัดการต่างๆ ของอุตสาหกรรมยา การแพทย์ การรักษา และงานทดลองวิจัย ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลมีความเชื่อมั่นว่าทุกคนมีความสามารถและศักยภาพในการเรียนรู้ทักษะใหม่และก้าวหน้าเติบโตโดยผ่านกระบวนการเรียนการสอน โดยการเรียนรู้แบบไม่จำกัด และไม่เฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น