หลักสูตร วท.ม. สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ

  /    /  หลักสูตร วท.ม. สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ

ทีมอาจารย์ผู้สอน

รศ. ดร. วัสกา วิสุทธิวิเศษ

อาจารย์ ดร. อัษฎารัตน์ คูรัตน์

อาจารย์ ดร. อิทธิพล รัศมีโรจน์

ผศ. ดร. ดลวรา คุณะดิลก

ผศ. ดร. ธันวดี สุเนตนันท์

ผศ. ดร. ทรงพล ตีระกนก

ผศ. ดร. ชัยยงค์ รักขิตเวชสกุล

ผศ. ดร. มรกต เชิดเกียรติกุล

ปรัชญาการศึกษา

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีองค์ความรู้และทักษะด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ (CY) เน้นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered Approach) ผนวกกับทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง (Constructivism) และปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) หรือ ปรัชญาที่ยึดเนื้อหาเป็นหลักสำคัญของการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล

กล่าวคือหลักสูตรได้นำ ปรัชญาสารัตถนิยม (Essentialism) มาใช้ในการจัดการเรียนรู้ที่สำคัญด้านความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ ให้กับผู้เรียน อีกทั้ง ยังได้นำแนวทางการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Student-Centered Approach) และทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตัวเอง (Constructivism) ซึ่งเป็นปรัชญาพื้นฐานที่มหาวิทยาลัยมหิดลยึดมั่น มาใช้ในการเรียนการสอนอีกด้วย

บัณฑิตของเรามีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้และหลักการด้านความปลอดภัย เพื่อออกแบบ นำไปใช้ และประเมินระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์และการประกันสารสนเทศสำหรับองค์กรของตนเอง รวมถึงการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดำเนินกระบวนการด้านนิติวิทยาศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์และดิจิทัล ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างสูงต่อการสืบสวนอาชญากรรมทางไซเบอร์

วิสัยทัศน์

สร้างโอกาสทางวิชาการและวิชาชีพทางด้านการศึกษา วิจัย และนวัตกรรม ด้านการประมวลผลเชิงดิจิทัล เพื่อตอบสนองความต้องการของโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และยกระดับเศรษฐกิจดิจิทัลทั้งระดับชาติและระดับโลก

วัตถุประสงค์

ภายหลังสำเร็จการศึกษา บัณฑิตจะมีคุณสมบัติตามมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษาระดับอุดมศึกษา ดังนี้

  1. มีความรู้ในหลักการและทฤษฎีด้านความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ
  2. มีความสามารถในการนำเสนอ วิเคราะห์ จำแนกข้อเท็จจริง และมีความสามารถในการพัฒนากรอบงานหรือนำเสนอระบบสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาความปลอดภัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยและความรู้ด้านความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ
  3. มีคุณธรรมและจริยธรรมในวิชาชีพด้านไอที
  4. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ความสามารถในการเข้าสังคม ความเป็นผู้นำ และทักษะการทำงานเป็นทีม

แนะนำหลักสูตร

เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ ปัจจุบันนี้เราติดต่อสื่อสารกันมากขึ้นผ่านอินเทอร์เน็ต ซึ่งนวัตกรรมนี้ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตสังคมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ดีขึ้นในระดับที่เราคาดไม่ถึง ในยุคที่ทุกคนใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาและโทรศัพท์มือถืออย่างแพร่หลาย ทำให้เราสามารถแบ่งปันข้อมูลกับบุคคลอื่นได้ และสามารถดำเนินธุรกิจได้ทุกสถานที่และตลอดเวลาผ่านระบบเครือข่ายสื่อสารที่สามารถส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม มีคนบางกลุ่มนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด อย่างที่ทราบกันดีว่า เหตุการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์ และความเสียหายที่เกิดจากภัยคุกคามเหล่านั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะสถาบันการศึกษา ได้ตระหนักถึงภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ จึงได้จัดตั้ง หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ความสามารถที่เรียนไปช่วยประเทศชาติในการจัดการความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ

หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ มีระยะเวลาการศึกษา 2 ปีตลอดหลักสูตร เหมาะสำหรับผู้เข้าศึกษา 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ที่ต้องการทำงานในด้านการรักษาความปลอดภัยซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เครือข่าย ซึ่งเหมาะกับวิชาเอก “ความมั่นคงทางไซเบอร์” และผู้ที่ต้องการทำงานในด้านการจัดเก็บและแจกจ่ายข้อมูลในองค์กร ซึ่งเหมาะกับวิชาเอก “การประกันสารสนเทศ” หลักสูตรของเราได้รับการพัฒนาและร่วมออกแบบหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านวิชาการและภาคอุตสาหกรรม

หากคุณต้องการเพิ่มพูนความรู้และทักษะในด้านความมั่นคงทางไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับคุณ

เรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นเวลา 2 ปี (การเรียนรายวิชา จำนวน 3 ภาคการศึกษา) โดยนักศึกษาจะต้องสอบผ่านรายวิชาและวิทยานิพนธ์ทั้งหมด 36 หน่วยกิต เพื่อสำเร็จการศึกษา

โครงสร้างของหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ (หลักสูตรนานาชาติ)
ที่อยู่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
ติดต่อ
ปีที่ก่อตั้ง 2557
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (ความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ)
(วท.ม. ความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ)
ภาษาในการจัดการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษ
การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่มีความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษ

สถานที่จัดการเรียนการสอน

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา

ระบบจัดการเรียนการสอน

1 ปีการศึกษา ประกอบด้วย 2 ภาคการศึกษาปกติ

ภาคฤดูร้อน : ไม่มีภาคฤดูร้อน

วัน-เวลาในการจัดการเรียนการสอน

วันธรรมดา (เวลา 9.00 – 19.00 น. ณ วิทยาเขตศาลายา) อาจมีเรียนออนไลน์วันธรรมดา (เวลา 18.00 – 21.00 น.)
ภาคต้น: สิงหาคม – ธันวาคม
ภาคปลาย: มกราคม – พฤษภาคม

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา: 2 ปี
จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร: ไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

แผน 1.2 สายวิชาการ (รายวิชาและวิทยานิพนธ์)

  1. นักศึกษาจะต้องสำเร็จการศึกษาตามที่หลักสูตรกำหนด โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00
  2. นักศึกษาต้องนำเสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านวิทยานิพนธ์ ด้วยวิธีการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง ซึ่งการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
  3. ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในบทความปริทัศน์ (Review Article) หรือได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานนวัตกรรม หรือได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานสร้างสรรค์ หรือได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานทางวิชาการที่สามารถสืบค้นได้
  4. ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้ถือตามข้อกำหนดที่ระบุโดยบัณฑิตวิทยาลัย

แผน 2 สายวิชาชีพ

  1. นักศึกษาจะต้องสำเร็จหลักสูตรตามที่ระบุไว้ในหลักสูตร โดยมีเกรดเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00
  2. นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบประมวลความรู้ (Comprehensive Examination) ตามข้อกำหนดบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล
  3. นักศึกษาต้องนำเสนอการศึกษาค้นคว้าอิสระ และผ่านการสอบป้องกัน ตามข้อกำหนดบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลโดยการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
  4. ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้ถือตามข้อกำหนดที่ระบุโดยบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตร ทั้งหมดประกอบด้วย 4 ภาคการศึกษา (2 ปี) นักศึกษาทุกคนจะต้องเรียนวิชาแกน 18 หน่วยกิต ในปีที่ 1 (ภาคการศึกษาที่ 1 และ 2)

นักศึกษาแผน 1 (สายวิชาการ) จะต้องเรียนวิชาเลือก 6 หน่วยกิต ในปีที่ 1 (ภาคการศึกษาที่ 1) และปีที่ 2 (ภาคการศึกษาที่ 1) และวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต ในปีที่ 1 (ภาคการศึกษาที่ 1) และปีที่ 2 (ภาคการศึกษาที่ 1 และ 2)

นักศึกษาแผน 2 (สายวิชาชีพ) จะต้องเรียนวิชาเลือก 12 หน่วยกิต ในภาคการศึกษาที่ 2 และ 3  และการศึกษาค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต ในปีที่ 2 (ภาคการศึกษาที่ 1 และ 2)

รายวิชา แผน 1.2 สายวิชาการ (การเรียนรายวิชาและวิจัย) แผน 2 สายวิชาชีพ
1. หมวดวิชาบังคับ 18 หน่วยกิต 18 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
3. วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
4. การค้นคว้าอิสระ 6 หน่วยกิต
รวมไม่น้อยกว่า 36 หน่วยกิต 36 หน่วยกิต

 

แผนการศึกษา

แผน 1.2 สายวิชาการ (การเรียนรายวิชาและวิจัย)

ปีการศึกษาที่ 1 ภาคเรียนที่ 1

ทสคม 511 ความมั่นคงทางคอมพิวเตอร์และเครือข่าย 3(3-0-6)
ทสคม 512 การจัดการความมั่นคงสารสนเทศ 3(3-0-6)
ทสคม 513 จริยธรรมและกฎหมายไซเบอร์ 2(2-0-4)
ทสคม 516 วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและสัมมนา 1(1-0-2)
ทสคม 541 เทคโนโลยีและเทคนิคทางนิติดิจิทัล 3(3-0-6)

รวม

12 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 1 ภาคเรียนที่ 2

ทสคม 571 การประกันสารสนเทศและการจัดการความเสี่ยง 3(3-0-6)
ทสคม 531 การทำให้ระบบแข็งแกร่งและการทดสอบเจาะระบบ 3(3-0-6)
ทสคมXXX วิชาเลือก 1 รายวิชา 3 หน่วยกิต
ทสคม 698 วิทยานิพนธ์ (พัฒนาหัวข้อวิจัย ทบทวนวรรณกรรม และเตรียมการเก็บรวบรวมข้อมูล) 3(0-9-0)

รวม

12 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 1
ทสคมXXX วิชาเลือก 1 รายวิชา 3 หน่วยกิต
ทสคม 698 วิทยานิพนธ์ (ดำเนินการทดลองเบื้องต้น และเขียนข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์) 3(0-9-0)

รวม

6 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 2
ทสคม 698 วิทยานิพนธ์ (ดำเนินการทดลอง เขียนวิทยานิพนธ์ และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์) 6(0-18-0)

รวม

6 หน่วยกิต

แผน 2 สายวิชาชีพ

ปีการศึกษาที่ 1 ภาคเรียนที่ 1

ทสคม 511 ความมั่นคงทางคอมพิวเตอร์และเครือข่าย 3(3-0-6)
ทสคม 512 การจัดการความมั่นคงสารสนเทศ 3(3-0-6)
ทสคม 513 จริยธรรมและกฎหมายไซเบอร์ 2(2-0-4)
ทสคม 516 วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและสัมมนา 1(1-0-2)
ทสคม 541 เทคโนโลยีและเทคนิคทางนิติดิจิทัล 3(3-0-6)

รวม

12 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 1 ภาคเรียนที่ 2
ทสคม 571 การประกันสารสนเทศและการจัดการความเสี่ยง 3(3-0-6)
ทสคม 531 การทำให้ระบบแข็งแกร่งและการทดสอบเจาะระบบ 3(3-0-6)
ทสคมXXX วิชาเลือก 2 รายวิชา 6 หน่วยกิต

รวม

12 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 1

สอบประมวลผลความรู้

ทสคมXXX วิชาเลือก 2 รายวิชา 6 หน่วยกิต
ทสคม 696 การค้นคว้าอิสระ (พัฒนาหัวข้อการค้นคว้าอิสระ, ทบทวนวิธีแก้ปัญหาที่มีอยู่เดิมและภัยคุกคามด้านความปลอดภัย, ประเมินวิธีแก้ปัญหาที่มีอยู่เดิม, เขียนข้อเสนอโครงการค้นคว้าอิสระ และเสนอการค้นคว้าอิสระ) 3(0-9-0)

รวม

9 หน่วยกิต

ปีการศึกษาที่ 2 ภาคเรียนที่ 2
ทสคม 696 การค้นคว้าอิสระ (ดำเนินการทดลองและประเมินผลวิธีแก้ปัญหา เตรียมตัวสอบป้องกันการค้นคว้าอิสระ และสอบป้องกันการค้นคว้าอิสระ) 3(0-9-0)

รวม

3 หน่วยกิต

Elective Courses

Students in Plan 1 (Academic) can choose to take the following courses at least 6 credits. Students in Plan 2 (Profession) can choose to take the following courses at least 12 credits:

ITCY 514 Fraud Analysis and Detection
ITCY 535 Reverse Engineering and Malware Analysis
ITCY 543 Network Forensics
ITCY 545 Cloud Security
ITCY 546 Mobile and IoT Security
ITCY 552 Authentication Technology Management
ITCY 553 Secure Software Design
ITCY 562 Intrusion Detection and Prevention
ITCY 581 Incident Response Management
ITCY 582 Blockchain Technology
ITCY 583 Data Science for Cyber Security
ITCY 591 Special Topics in Cyber Security and Forensics
ITCY 592 Special Topics in Information Assurance

สาขาการวิจัย

  • ความมั่นคงไซเบอร์ (Cyber Security)
  • ความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ (Information Security)
  • ระบบเครือข่าย (Network System)
  • การเข้ารหัสข้อมูล (Cryptography)
  • วิศวกรรมความปลอดภัย (Security Engineering)
  • การออกแบบซอฟต์แวร์ที่มั่นคงปลอดภัย (Secure Software Design)
  • การประกันสารสนเทศ (Information Assurance)
  • การจัดการความมั่นคงปลอดภัย (Security Management)
  • นิติวิทยาคอมพิวเตอร์ (Computer Forensics)
  • นิติวิทยาระบบเครือข่าย (Network Forensics)
  • การตรวจจับและป้องกันการบุกรุก (Intrusion Detection and Prevention)
  • การโจมตีเชิงจริยธรรม (Ethical Attacks)

แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล

แนวปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอน
  • การบรรยายแบบมีปฏิสัมพันธ์
    • การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
    • การนำเสนอ
    • การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
    • การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
    • งานที่มอบหมายรายบุคคล หรือรายกลุ่ม
    • การให้คำแนะนำปรึกษาในรูปแบบการสอนงาน (Coaching)
  • การสัมมนา
  • ปฏิบัติการทางคอมพิวเตอร์
  • การอภิปรายกลุ่ม
  • โครงการในชั้นเรียน
  • กรณีศึกษา
  • การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
แนวปฏิบัติในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
  • การสอบย่อย
  • การสอบ
  • การทำรายงานปฏิบัติ/โครงการ
  • นำเสนอปากเปล่า
  • วิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ

ผลลัพธ์การเรียนรู้

  • PLO1: สามารถประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีด้านความปลอดภัยไซเบอร์และการประกันสารสนเทศในงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับรองความปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT)
  • PLO2:
    • PLO2.1 สามารถสร้างกรอบแนวคิดใหม่ในด้านความปลอดภัยไซเบอร์และการประกันสารสนเทศผ่านการวิจัยต้นฉบับ (แผน 1)
    • PLO2.2 สามารถประเมินและเลือกแนวทางการแก้ปัญหาที่เป็นประโยชน์ในด้านความปลอดภัยไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ เพื่อปรับปรุงให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความปลอดภัยจากภัยคุกคามผ่านการใช้ระเบียบวิธีการวิจัย (แผน 2)
  • PLO3: สามารถประยุกต์ใช้ความรับผิดชอบทางวิชาชีพและจริยธรรมในสภาพแวดล้อมการทำงานและสังคมได้
  • PLO4: มีทักษะการสื่อสารระหว่างบุคคลและมีความรับผิดชอบในบทบาทและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากทีม/องค์กร

อาชีพในอนาคต

  • นักพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัย (Security System Developer)
  • ผู้ดูแลระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูล (Data Security System Administrator)
  • ผู้ดูแลระบบรักษาความปลอดภัยซอฟต์แวร์ (Software Security System Administrator)
  • ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเซิร์ฟเวอร์ (Network and Server System Administrator)
  • ผู้ดูแลระบบรักษาความปลอดภัยเครือข่ายและเซิร์ฟเวอร์ (Network and Server Security System Administrator)
  • นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ (Researcher in Cyber Security and Information Assurance)
  • ที่ปรึกษาด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ (Consultant in Cyber Security and Information Assurance)
  • ผู้ตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัย (Security System Audit)

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ผู้สมัครที่มีความสามารถโดดเด่น สามารถสมัครขอทุนการศึกษาบางส่วนได้ โดยกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการสมัคร ซึ่งการพิจารณามอบทุนการศึกษาจะพิจารณาโดยคณะกรรมการหลักสูตร เป็นรายกรณี

ปีการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าใช้จ่าย (ตลอดหลักสูตร)

นักศึกษาต่างชาติ

นักศึกษาไทย

บาท

ดอลล่าร์สหรัฐฯ [1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ~ 33 บาท]

บาท

ดอลล่าร์สหรัฐฯ [1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ~ 33 บาท]

2564 - 2566

แผน ก (วิทยานิพนธ์)

489,000 บาท

14,900 USD

299,000 บาท

9,100 USD

แผน ข (สารนิพนธ์)

529,000 บาท

16,100 USD

275,000 บาท

8,400 USD

2567

แผน 1.2 สายวิชาการ (การเรียนรายวิชาและวิจัย)

320,000 บาท
(80,000 บาท/ภาคการศึกษา)

9,700 USD
(2,425 USD/ภาคการศึกษา)

280,000 บาท
(70,000 บาท / ภาคการศึกษา)

8,500 USD
(2,125 USD/ภาคการศึกษา)

แผน 2 สายวิชาชีพ

320,000 บาท
(80,000 บาท / ภาคการศึกษา) 

9,700 USD
(2,425 USD/ภาคการศึกษา)

280,000 บาท
(70,000 บาท / ภาคการศึกษา)

8,500 USD
(2,125 USD/ภาคการศึกษา)

*อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

ทุนการศึกษา

ผู้สมัครที่มีความสามารถโดดเด่น สามารถสมัครขอทุนการศึกษาบางส่วนได้ โดยกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มการสมัคร ซึ่งการพิจารณามอบทุนการศึกษาจะพิจารณาโดยคณะกรรมการหลักสูตร เป็นรายกรณี

ทุนสนับสนุน

การสมัคร

สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาต่อ

นักศึกษาที่มีสิทธิ์สมัครหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิศวกรรมไฟฟ้า หรือในด้านที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ หรือสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยต้องมีความรู้พื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต หรือสําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและมีประสบการณ์ทำงานด้านคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 1 ปี
  2. ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้เป็นไปตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
  3. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากข้อ 2 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของคณะกรรมการหลักสูตรฯ และ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย สมัครเรียนได้ที่: https://graduate.mahidol.ac.th/

กำหนดการ (ปีการศึกษา 2567)

กำหนดการ

รอบที่ 1

ช่วงเปิดรับสมัคร 1 ธันวาคม 2566 – 31 มกราคม 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ 9 กุมภาพันธ์ 2567
สอบสัมภาษณ์ 14 กุมภาพันธ์ 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 1 มีนาคม 2567
นักศึกษาใหม่รายงานตัวเข้าศึกษา 1 มีนาคม 2567
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2567) สิงหาคม 2567
กำหนดการ รอบที่ 2
ช่วงเปิดรับสมัคร 1 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ 10 เมษายน 2567
สอบสัมภาษณ์ 24 เมษายน 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 8 พฤษภาคม 2567
นักศึกษาใหม่รายงานตัวเข้าศึกษา 8 – 14 พฤษภาคม 2567
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2567) สิงหาคม 2567
กำหนดการ รอบที่ 3
ช่วงเปิดรับสมัคร 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบ 10 มิถุนายน 2567
สอบสัมภาษณ์ 14 มิถุนายน 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 2 กรกฎาคม 2567
นักศึกษาใหม่รายงานตัวเข้าศึกษา 2 – 8 กรกฎาคม 2567
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2567) สิงหาคม 2567

ทำไมถึงต้องเรียนที่ มหาวิทยาลัยมหิดล?

มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ทั้งในด้านการวิจัยและการศึกษา บัณฑิตของมหาวิทยาลัยฯ สร้างประโยชน์มากมายให้แก่สังคมและประเทศชาติ อีกทั้งระบบการศึกษาและการวิจัยที่ทันยุคทันสมัยของมหาวิทยาลัยฯ ยังเป็นปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย และยังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของไทยอีกด้วย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังมีสภาพแวดล้อมทางด้านการศึกษา และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ด้านการสันทนาการที่เพรียบพร้อม อันจะช่วยเติมเต็มการเรียนของนักศึกษาในระหว่างศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดลอีกด้วย

ดร. อัษฎารัตน์ คูรัตน์

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

+66-02-441-0909

assadarat.khu@mahidol.ac.th

วิดีทัศน์แนะนำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ