หลักสูตร ปร.ด. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

  /    /  หลักสูตร ปร.ด. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

Analytical, Critical
and Creative Thinking
Competencies

แนะนำหลักสูตร

ปัจจุบันการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีขั้นสูงส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกและการพัฒนาสังคม ซึ่งสภาพแวดล้อมที่ท้าทายนี้ก่อให้เกิดความต้องการที่สำคัญและโอกาสที่ดีสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่สามารถปลดล็อกศักยภาพของนวัตกรรมไอทีและธุรกิจได้อย่างเต็มที่

หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญ ในด้านการตรวจสอบ การสื่อสาร และการปฏิบัติ อีกทั้งยังมีความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการผลิตผลงานวิจัย ตลอดจนมีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานในแวดวงอุตสาหกรรมด้าน IT โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นหลักสูตรเชิงทฤษฎีประยุกต์ ที่มีการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ เชิงสังเคราะห์ และเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียน หลักสูตรนี้ไม่เพียงแต่สอนความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่ยังสอนแนวคิดเชิงลึกและประสบการณ์การการทำวิจัยเฉพาะ 5 ด้านอีกด้วย :

  • Data and Knowledge Management
  • Intelligent Systems
  • Interactive Multimedia Systems
  • Networks, Systems, and Security
  • Software Engineering

ปรัชญา

หลักสูตรนี้มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะเทียบเคียงมาตรฐานนานาชาติที่จำเป็นต่อการทำงานวิจัย เพื่อแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และธุรกิจที่มีความซับซ้อน โดยการศึกษาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ผ่านการทำวิจัยในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์

วิสัยทัศน์

มุ่งสู่การศึกษาและการวิจัยสหวิชาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ระดับโลก

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ความรู้เชิงลึกด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย
  2. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถทำงานวิจัยเพื่อค้นคว้าความรู้ใหม่ๆ ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือปัญหาทางคอมพิวเตอร์ในสาขาอื่นๆ
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีจริยธรรม จรรยาบรรณ และปฏิบัติตามระเบียบการวิจัย การศึกษา และอาชีพทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
  4. เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือทางด้านวิชาการ และส่งเสริมทักษะการสื่อสารโดยใช้ภาษาอังกฤษ
โครงสร้างของหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์

(หลักสูตรภาคปกติและภาคพิเศษ)

ที่อยู่ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
ติดต่อ โทรศัพท์: +66 02 441-0909 / โทรสาร: +66 02 441-0808
อีเมล: ict@mahidol.ac.th
เว็บไซต์: http://www.ict.mahidol.ac.th
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์

ปร.ด. (วิทยาการคอมพิวเตอร์)

ภาษาในการจัดการเรียนการสอน ภาษาอังกฤษ
การรับเข้าศึกษา รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่มีความรู้ความสามารถภาษาอังกฤษ
สถานที่จัดการเรียนการสอน

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

ระบบจัดการเรียนการสอน

ระบบจัดการเรียนการสอน

ระบบการศึกษา 2 ภาคการศึกษา: 1 ปีการศึกษา ประกอบด้วย 2 ภาคการศึกษาปกติ โดยมีการเรียนการสอนไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ต่อภาคการศึกษา

ภาคฤดูร้อน
ไม่มีภาคฤดูร้อน

วัน-เวลาในการจัดการเรียนการสอน

ภาคต้น: สิงหาคม – ธันวาคม
ภาคปลาย: มกราคม – พฤษภาคม

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา: 
แผน 1.1 และ แผน 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท: 3 ปี
แผน 1.2 และ แผน 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี: 4 ปี

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร:
แผน 1.1 และ แผน 2.1 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท: ไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
แผน 1.2 และ แผน 2.2 สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี: ไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต

เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา

แบบ 1.1 และ แบบ 1.2 (วิทยานิพนธ์)
1) นักศึกษาจะต้องสำเร็จรายวิชาตามที่โครงสร้างหลักสูตรกำหนด
2) นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ
3) นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
4) นักศึกษาต้องเสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านวิทยานิพนธ์ ด้วยวิธีการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
5) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการ อย่างน้อย 2 ฉบับ ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่หรืออย่างน้อย ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศที่คณะกรรมการกำหนด อย่างน้อย 1 เรื่อง ได้รับสิทธิบัตร อย่างน้อย 1 สิทธิบัตร ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานนวัตกรรม 1 เรื่อง หรือได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เชิงสังคม และเศรษฐกิจ 1 เรื่อง กรณีผลงานนวัตกรรม หรือผลงานสร้างสรรค์ วิทยานิพนธ์ต้องได้รับการประเมินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในสาขาเดียวกันหรือเกี่ยวของอย่างน้อย 3 คน ที่เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับ โดยได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย
6) ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้ถือตามข้อกำหนดที่ระบุโดยบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ 2.1 และ แบบ 2.2 (วิทยานิพนธ์และการเรียนรายวิชา)
1) นักศึกษาจะต้องสำเร็จรายวิชาตามที่โครงสร้างหลักสูตรกำหนด โดยต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
2) นักศึกษาต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ
3) นักศึกษาต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
4) นักศึกษาต้องเสนอวิทยานิพนธ์ และสอบผ่านวิทยานิพนธ์ ด้วยวิธีการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
5) ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการ อย่างน้อย 1 ฉบับ ได้รับสิทธิบัตร อย่างน้อย 1 สิทธิบัตร ได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานนวัตกรรม 1 เรื่อง หรือได้รับการยอมรับว่าเป็นผลงานสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เชิงสังคม และเศรษฐกิจ 1 เรื่อง กรณีผลงานนวัตกรรม หรือผลงานสร้างสรรค์ วิทยานิพนธ์ต้องได้รับการประเมินจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกในสาขาเดียวกันหรือเกี่ยวของอย่างน้อย 3 คน ที่เป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูงเป็นที่ยอมรับ โดยได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย
6) ข้อกำหนดอื่น ๆ ให้ถือตามข้อกำหนดที่ระบุโดยบัณฑิตวิทยาลัย

โครงสร้างหลักสูตร
รายวิชา แผน 1.1 แผน 1.2 แผน 2.1 แผน 2.2
1. รายวิชาบังคับ 9 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
2. รายวิชาเลือก ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต 12 หน่วยกิต
3. วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต 72 หน่วยกิต 36 หน่วยกิต 48 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต 72 หน่วยกิต 48 หน่วยกิต 72 หน่วยกิต
แผนการศึกษา
แบบ 1.1 (วิทยานิพนธ์) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
* ทสคพ 671 การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 1 (1-0-2)
ทสคพ 898 วิทยานิพนธ์ (พัฒนาหัวข้อวิจัย และวางแผนวิจัย) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
* ทสคพ 672 การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 1 (1-0-2)
ทสคพ 898 วิทยานิพนธ์ (ทบทวนวรรณกรรม และเตรียมเก็บรวบรวมข้อมูล) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
* ทสคพ 673 การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3 1 (1-0-2)
ทสคพ 898 วิทยานิพนธ์ (ดำเนินการทดลองเบื้องต้น และเขียนข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
ทสคพ 898 วิทยานิพนธ์ (เสนอข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ ดำเนินการทดลอง และเขียนต้นฉบับครั้งแรก) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1
ทสคพ 898 วิทยานิพนธ์ (ดำเนินการทดลอง และเขียนต้นฉบับครั้งที่สอง) 6 (0-18-0)
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2
ทสคพ 898 วิทยานิพนธ์ (เขียนวิทยานิพนธ์และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์) 6 (0-18-0)

* Register with AUDIT

แบบ 1.2 (วิทยานิพนธ์) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
* ทสคพ 533 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 (2-0-4)
* ทสคพ 671 การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 1 (1-0-2)
ทสคพ 899 วิทยานิพนธ์ (พัฒนาหัวข้อวิจัย) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
* ทสคพ 672 การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 1 (1-0-2)
ทสคพ 899 วิทยานิพนธ์ (วางแผนวิจัย และทบทวนวรรณกรรม) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
* ทสคพ 673 การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3 1 (1-0-2)
ทสคพ 899 วิทยานิพนธ์ (ทบทวนวรรณกรรม และเตรียมเก็บรวบรวมข้อมูล) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
ทสคพ 899 วิทยานิพนธ์ (ดำเนินการทดลองเบื้องต้น และเขียนข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1
ทสคพ 899 วิทยานิพนธ์ (เสนอข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ และดำเนินการทดลอง) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2
ทสคพ 899 วิทยานิพนธ์ (เขียนต้นฉบับครั้งแรก) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1
ทสคพ 899 วิทยานิพนธ์ (ดำเนินการทดลอง และเขียนต้นฉบับครั้งที่สอง) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2
ทสคพ 899 วิทยานิพนธ์ (เขียนวิทยานิพนธ์ และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์) 9 (0-27-0)

* Register with AUDIT

แบบ 2.1 (วิทยานิพนธ์ และการเรียนรายวิชา) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
ทสคพ 531 คณิตศาสตร์สำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 (2-0-4)
ทสคพ 533 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 (2-0-4)
ทสคพ 671 การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 1 (1-0-2)
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
ทสคพ 532 รากฐานของวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ 2 (2-0-4)
ทสคพ 672 การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 1 (1-0-2)
หมวดวิชาเลือก 3 credits
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
ทสคพ 673 การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3 1 (1-0-2)
ทสคพ 699 วิทยานิพนธ์ (พัฒนาหัวข้อวิจัย วางแผนวิจัย และทบทวนวรรณกรรม) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
ทสคพ 699 วิทยานิพนธ์  (เตรียมเก็บรวบรวมข้อมูล ดำเนินการทดลองเบื้องต้น เขียนข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ และเสนอข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1
ทสคพ 699 วิทยานิพนธ์ (ดำเนินการทดลอง และเขียนต้นฉบับครั้งแรก) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2
ทสคพ 699 วิทยานิพนธ์ (เขียนวิทยานิพนธ์ และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์) 9 (0-27-0)
แบบ 2.2 (วิทยานิพนธ์ และการเรียนรายวิชา) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1
ทสคพ 523 ส่วนสำคัญของวิทยาการข้อมูล 3 (3-0-6)
ทสคพ 531 คณิตศาสตร์สำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 (2-0-4)
ทสคพ 533 ระเบียบวิธีวิจัยทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 (2-0-4)
ทสคพ 671 การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 1 (1-0-2)
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2
ทสคพ 532 รากฐานของวิทยาศาตร์เชิงคำนวณ 2 (2-0-4)
ทสคพ 672 การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 1 (1-0-2)
หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1
ทสคพ 673 การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3 1 (1-0-2)
หมวดวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
ทสคพ 799 วิทยานิพนธ์ (พัฒนาหัวข้อวิจัย และวางแผนวิจัย) 3 (0-9-0)
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2
ทสคพ 799 วิทยานิพนธ์ (ทบทวนวรรณกรรม และเตรียมเก็บรวบรวมข้อมูล) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 1
ทสคพ 799 วิทยานิพนธ์ (ดำเนินการทดลองเบื้องต้น และเขียนข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 3 ภาคการศึกษาที่ 2
ทสคพ 799 วิทยานิพนธ์ (เสนอข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ และดำเนินการทดลอง) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1
ทสคพ 799 วิทยานิพนธ์ (เขียนต้นฉบับครั้งแรก) 9 (0-27-0)
ปีการศึกษาที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 2
ทสคพ 799 วิทยานิพนธ์ (เขียนวิทยานิพนธ์และสอบป้องกันวิทยานิพนธ์) 9 (0-27-0)

หมวดวิชาเลือก

หมวดวิชาเลือก สำหรับแบบ 2.1 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต

นักศึกษาสามารถเลือกเรียนหมวดวิชาต่าง ๆ ดังนี้

ทศคพ 638 ความมั่นคงของระบบเครือข่ายและระบบแบบกระจาย             3 (3-0-6)
ทศคพ 642 การจัดการวิศวกรรมซอฟแวร์                                               3 (3-0-6)
ทศคพ 646 วิศวกรรมความต้องการ                                                       3 (3-0-6)
ทศคพ 687 ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ขั้นสูง                                       3 (3-0-6)
ทศคพ 692 หัวข้อขั้นสูงด้านปัญญาประดิษฐ์                                          3 (3-0-6)
ทศคพ 693 หัวข้อขั้นสูงด้านวิศวกรรมซอฟแวร์                                       3 (3-0-6)
ทศคพ 694 ชีวสารสนเทศศาสตร์                                                          3 (3-0-6)
ทศคพ 695 การศึกษาอิสระ                                                                  3 (0-6-3)

หมวดวิชาเลือก สำหรับแบบ 2.2 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต
นักศึกษาสามารถเลือกเรียนรายวิชาในกลุ่มฐานข้อมูล (Database) กลุ่มเครือข่ายสื่อสารและความมั่นคง (Network and Security) กลุ่มปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) กลุ่มวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) หรือกลุ่มวิชาเลือกอื่นๆ ดังต่อไปนี้
(1) กลุ่มฐานข้อมูล (Database)
ทศคพ 621 การออกแบบและการบริหารฐานข้อมูล                             3 (3-0-6)
ทศคพ 668 ฐานข้อมูลระบบคลาวด์และเทคโนโลยีข้อมูลขนาดใหญ่     3 (3-0-6)
ทศคพ 682 ระบบฐานข้อมูลขั้นสูง                                                     3 (3-0-6)

(2) กลุ่มเครือข่ายสื่อสารและความมั่นคง (Network and Security)
ทศคพ 551 การคำนวณเชิงบริการและคลาวด์                                     3 (3-0-6)
ทศคพ 554 การจัดการความมั่นคงของสารสนเทศ                               3 (3-0-6)
ทศคพ 638 ความมั่นคงของระบบเครือข่ายและระบบแบบกระจาย          3 (3-0-6)
ทศคพ 687 ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ขั้นสูง                                    3 (3-0-6)

(3) กลุ่มปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence)

ทศคพ 517 การเรียนรู้เชิงเครื่องจักร                                                  3 (3-0-6)
ทศคพ 518 การวิเคราะห์และความเข้าใจภาพ                                     3 (3-0-6)
ทศคพ 661 ปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง                                                     3 (3-0-6)
ทศคพ 665 การประมวลผลภาษาธรรมชาติ                                        3 (3-0-6)
ทศคพ 667 คอมพิวเตอร์วิทัศน์ขั้นสูง                                                3 (3-0-6)
ทศคพ 692 หัวข้อขั้นสูงด้านปัญญาประดิษฐ์                                      3 (3-0-6)

(4) กลุ่มวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)

ทศคพ 613 เครื่องมือและสภาพแวดล้อมสําหรับการพัฒนาซอฟต์แวร์ 3 (3-0-6)
ทศคพ 615 วิศวกรรมซอฟแวร์เชิงประจักษ์                                      3 (3-0-6)
ทศคพ 642 การจัดการวิศวกรรมซอฟต์แวร์                                      3 (3-0-6)
ทศคพ 644 การประกันคุณภาพซอฟต์แวร์                                       3 (3-0-6)
ทศคพ 646 วิศวกรรมความต้องการ                                                3 (3-0-6)
ทศคพ 693 หัวข้อขั้นสูงด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์                              3 (3-0-6)

(5) กลุ่มวิชาเลือกอื่นๆ

ทศคพ 503 การออกแบบและวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี                             3 (3-0-6)
ทศคพ 655 คอมพิวเตอร์กราฟิกส์                                                   3 (3-0-6)
ทศคพ 694 ชีวสารสนเทศศาสตร์                                                    3 (3-0-6)
ทศคพ 695 การศึกษาอิสระ                                                            3 (0-6-3)
ทศคพ 696 หัวข้อชั้นสูงด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์                           3 (3-0-6)

นอกจากนี้ นักศึกษาสามารถเลือกลงทะเบียนรายวิชาที่เปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษาหลักสูตรนานาชาติ ของมหาวิทยาลัยมหิดล หรือมหาวิทยาลัยอื่น ทั้งในประเทศและต่างประเทศตามความสนใจ โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและอาจารย์ที่ปรึกษา

หัวข้อวิจัยสำหรับทำวิทยานิพนธ์

หัวข้อวิจัยสำหรับทำวิทยานิพนธ์ ดังนี้:
(1) โครงการวิจัยด้านระบบอัจฉริยะ (Intelligent Systems)
(2) โครงการวิจัยด้านระบบการสื่อสารและเครือข่าย (Communication and Network Systems)
(3) ครงการวิจัยด้านระบบความปลอดภัย (Security Systems)
(4) โครงการวิจัยด้านวิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering)
(5) โครงการวิจัยในด้านระบบการจัดการข้อมูล (Data Management Systems)
(6) โครงการวิจัยในด้านระบบกราฟิกและสื่อหลายแบบ (Graphic And Multimedia Systems)
(7) โครงการวิจัยในด้านระบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์ (Computer Architecture and Computer Systems)
(8) โครงการวิจัยในด้านชีวสารสนเทศ (Bioinformatics)
(9) โครงการวิจัยในด้านข้อมูลสุขภาพ (Health Information)
(10) โครงการวิจัยในด้านวิทยาการคำนวณ (Computational Science)
(11) โครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม (Project Related To Industry)
นักศึกษาสามารถเลือกทำวิจัยในสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยได้รับการอนุมัติจากอาจารย์ที่ปรึกษาและประธานหลักสูตร

แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล
แนวปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอน
  • การบรรยายแบบมีปฏิสัมพันธ์
  • การอภิปราย
  • การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
  • การนำเสนอ
  • การเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
  • การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
  • งานที่มอบหมายรายบุคคล หรือรายกลุ่ม
  • การให้คำแนะนำปรึกษาในรูปแบบการสอนงาน (Coaching)
  • การสัมมนา
แนวปฏิบัติในการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา
  • การประเมินผลงานที่มอบหมาย
  • การสอบ
  • การสังเกตการณ์
  • การตรวจทานผลงานโดยผู้เชี่ยวชาญ (Peer Review)
  • การประเมินโครงการ
  • การประเมินการนำเสนอ
  • วิทยานิพนธ์
  • การรายงานความก้าวหน้า
ผลลัพธ์การเรียนรู้

การรายงานความก้าวหน้า:
PLO1 มีคุณธรรม จริยธรรม และพฤติกรรมที่เหมาะสมตามจรรยาบรรณของงานวิจัย งานวิชาการ และผู้ประกอบวิชาชีพด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
PLO2 มีความรู้ความสามารถเข้าใจหลักการและทฤษฎีด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์
PLO3 สามารถกำหนดวิธีและเทคนิคด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เฉพาะทางเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและปัญหาในงานวิจัยอย่างเป็นระบบ
PLO4 สามารถทำงานคนเดียวและทำงานเป็นทีมในสหวิชาการอย่างมีความความรับผิดชอบ
PLO5 สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเพื่อทำงานร่วมกับผู้อื่น ถ่ายทอดความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ และนำเสนอผลงานวิจัยผ่านเครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อบุคคลทั่วไปและผู้เชี่ยวชาญ
PLO6 สามารถค้นพบความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ ผ่านงานวิจัยต้นฉบับที่มีคุณภาพระดับนานาชาติและสามารถผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิได้

อาชีพในอนาคต

1. นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
2. ผู้สอนวิทยาการคอมพิวเตอร์
3. เจ้าหน้าที่เทคนิคคอมพิวเตอร์
4. ผู้จัดการโครงการเทคโนโลยีสารสนเทศ
5. ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

Download

ผู้สมัครหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

แบบ 1.1 (วิทยานิพนธ์) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท

  1. สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท หรือเทียบเท่า ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือ สาขาที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. มีผลงาน Peer-review ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการตีพิมพ์อย่างน้อย 1 ผลงาน
  3. มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่น้อยกว่า 3.50
  4. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
  5. มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
  6. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ในข้อ 3 – 5 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ 1.2 (วิทยานิพนธ์) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

  1. สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือ สาขาที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. มีผลงาน Peer-review ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการตีพิมพ์อย่างน้อย 1 ผลงาน หรือมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 1 ปี หรือมีประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 3 ปี
  3. มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่น้อยกว่า 3.50
  4. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
  5. มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
  6. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ในข้อ 3 – 5 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ 2.1 (วิทยานิพนธ์ และการเรียนรายวิชา) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท

  1. สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท หรือเทียบเท่า ในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือ สาขาที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  2. มีผลงาน Peer-review ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการตีพิมพ์อย่างน้อย 1 ผลงาน หรือมีประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 3 ปี
  3. มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่น้อยกว่า 3.00
  4. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
  5. มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
  6. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ในข้อ 3 – 5 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

แบบ 2.2 (วิทยานิพนธ์ และการเรียนรายวิชา) สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี

  1. สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือเทียบเท่า ในสาขาที่เกี่ยวข้องด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ สาขาการแพทย์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสาขาสาธารณสุขศาสตร์
  2. มีผลงาน Peer-review ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่ได้รับการตีพิมพ์อย่างน้อย 1 ผลงาน หรือมีประสบการณ์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือมีประสบการณ์ในการทำงานวิจัยเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 1 ปี
  3. มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่น้อยกว่า 3.00
  4. มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตามเกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
  5. มีคุณสมบัติอื่นๆ ตามที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
  6. ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ในข้อ 3 – 5 อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตรฯ และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย

ขั้นตอนการสมัคร

  • สมัครออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย
  • สมัครใช้งานและลงชื่อเข้าใช้ระบบการสมัครออนไลน์
  • กรอกข้อมูลใบสมัคร และส่งเอกสารประกอบการสมัครผ่านระบบการสมัครออนไลน์ให้ครบถ้วน

กำหนดการรับสมัครปีการศึกษา 2567

กำหนดการ รอบที่ 1
เปิดรับสมัคร 1 ธันวาคม 2566 – 31 มกราคม 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ 9 กุมภาพันธ์ 2567
สอบสัมภาษณ์ 18 กุมภาพันธ์ 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 1 มีนาคม 2567
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ 1 – 7 มีนาคม 2567
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2567) สิงหาคม 2567
กำหนดการ รอบที่ 2
เปิดรับสมัคร 1 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ 10 เมษายน 2567
สอบสัมภาษณ์ 24 เมษายน 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 8 พฤษภาคม 2567
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ 8 – 14 พฤษภาคม 2567
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2567) สิงหาคม 2567
กำหนดการ รอบที่ 3
เปิดรับสมัคร 1 เมษายน – 31 พฤษภาคม 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ 10 มิถุนายน 2567
สอบสัมภาษณ์ 21 มิถุนายน 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 2 กรกฎาคม 2567
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ 2 – 8 กรกฎาคม 2567
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2567) สิงหาคม 2567
กำหนดการ ภาคปลาย
เปิดรับสมัคร 1 กรกฎาคม – 31 ตุลาคม 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ 9 พฤศจิกายน 2567
สอบสัมภาษณ์ 18 พฤศจิกายน 2567
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา 27 พฤศจิกายน 2567
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ 27 พฤศจิกายน – 3 ธันวาคม 2567
เปิดภาคการศึกษาที่ 2 (ปีการศึกษา 2567) มกราคม 2568

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ปีการศึกษา ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าใช้จ่าย (ตลอดหลักสูตร)
นักศึกษาต่างชาติ นักศึกษาไทย
บาท ดอลล่าร์สหรัฐฯ
[1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ~ 33 บาท]
บาท ดอลล่าร์สหรัฐฯ
[1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ~ 33 บาท]
2566 แผน 1.1 (วิทยานิพนธ์)  512,700 บาท  15,600 USD  420,450 บาท  12,800 USD
แผน 2.1 (วิทยานิพนธ์ และ การเรียนรายวิชา)  575,700 บาท  17,500 USD  463,200 บาท  14,100 USD
2567 Plan 1.1 (วิทยานิพนธ์)  480,000 บาท
(80,000 บาท/ภาคการศึกษา)
 14,550 USD
(2,425 USD/ภาคการศึกษา)
 420,000 บาท
(70,000 บาท/ภาคการศึกษา)
 12,750 USD
(2,125 USD/ภาคการศึกษา)
Plan 1.2 (วิทยานิพนธ์)  640,000 Baht
(80,000 บาท/ภาคการศึกษา)
 19,400 USD
(2,425 USD/ภาคการศึกษา)
 560,000 บาท
(70,000 บาท/ภาคการศึกษา)
 17,000 USD
(2,125 USD/ภาคการศึกษา)
Plan 2.1 (วิทยานิพนธ์ และ การเรียนรายวิชา)  480,000 Baht
(80,000 บาท/ภาคการศึกษา)
 14,550 USD
(2,425 USD/ภาคการศึกษา)
 420,000 บาท
(70,000 บาท/ภาคการศึกษา)
 12,750 USD
(2,125 USD/ภาคการศึกษา)
Plan 2.2 (วิทยานิพนธ์ และ การเรียนรายวิชา)  640,000 Baht
(80,000 บาท/ภาคการศึกษา)
 19,400 USD
(2,425 USD/ภาคการศึกษา)
 560,000 บาท
(70,000 บาท/ภาคการศึกษา)
 17,000 USD
(2,125 USD/ภาคการศึกษา)

*อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา

อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา

ทุนการศึกษา

มีทุนการศึกษาบางส่วนสำหรับนักศึกษาที่มีความโดดเด่น ผู้สมัครสามารถสมัครรรับทุนการศึกษาได้ โดยกรอกแบบฟอร์มใบสมัครรับทุนการศึกษา ทุนการศึกษาจะได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมกาหลักสูตรฯ เป็นกรณี ๆ ไป

รศ. ดร. วรพันธ์ คู่สกุลนิรันดร์

คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170

66-2-441-0909

worapan.kun@mahidol.edu