ปัจจุบันประเทศไทยกำลังขับเคลื่อนสู่ Thailand 4.0 พร้อมกับการมียุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ซึ่งมีปัจจัยด้านความเปลี่ยนแปลงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมที่พลิกผัน (Disruptive Innovation) โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านอินเทอร์เน็ตในสรรพสิ่ง หรือ Internet of Things (IoT) ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีตัวไมโครคอนโทรเลอร์ หรือระบบฝั่งตัว (Embedded System) ที่มีปรโตคอลสำหรับรับ/ส่งข้อมูล สามารถสื่อสารกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ผู้ใช้งานสามารถใช้ระบบ Dashboard ดูค่าการวัดและควบคุมอุปกรณ์ บนโทรศัพท์มือถือ (smartphone) หรือผ่าน IoT platform ต่างๆ เช่น NETPIE, Thingsboard, Firebase และยังสามารถตั้งเงื่อนไขสำหรับแจ้งเตือนโดยใช้ Line หรือ Facebook ก็ได้ ทำให้เราสามารถสร้างระบบควบคุมแบบอัตโนมัติ (smart automation) เช่นระบบการตั้งเวลาปิด/เปิด เครื่องปรับอากาศตามเงื่อนไขของอุณหภูมิและสภาพแวดล้อม หรือทำให้เราสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) จากการติดตามและเก็บรวบรวมจากอุปกรณ์เซนเซอร์ที่ติดตั้งในที่ต่างๆ และใช้ Machine Learning ทำการวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการวางแผน และปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัย เช่นระบบวัดฝุ่นในอากาศ ระบบการวัดการเข้าออกของรถยนต์ เพื่อตรวจสอบความหนาแน่นของรถยนต์ผ่านกล้อง CCTV ระบบการให้น้ำ/ปุ๋ย/แสง/อุณหภูมิ สำหรับพืชไร่/สวน ชนิดต่างๆ เป็นต้น
ดังนั้น คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดการอบรมเพื่อแนะนำและปูพื้นฐานให้กับบุคคลากรด้าน IT ของประเทศไทย มีทักษะและความรู้ในการพัฒนาอุปกรณ์ฝังตัว และระบบ IoT โดยสร้างอุปกรณ์วัดฝุ่น PM2.5 ด้วยอุปกรณ์ไมโครคอนโทรเลอร์ ESP32 โดยผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้และพัฒนาต่อยอดให้เกิดนวัตกรรมในอุตหกรรมต่างๆ ต่อไป
อบรมเชิงปฏิบัติการ
การพัฒนาระบบฝังตัว และ IoT ด้วยการสร้างอุปกรณ์วัด PM2.5 โดยใช้ ESP32
วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม 2563
เวลา | หัวข้อวิชา |
09:30 – 10:30 น. | Introduction to Embedded System and Internet of Things (IoT) |
10:30 – 10:45 น. | Break |
10:45 – 12:00 น. | Arduino IDE Programming |
12:00 – 13:00 น. | Lunch |
13:00 – 14:30 น. | การทำงานของเซนเซอร์ BME280
การทำงานของอุปกรณ์แสดงผล Wemos D1 MINI OLED ESP32 Programming#1: BME280, OLED |
14:30 – 14:45 น. | Break |
14:45 – 16:30 น. | การทำงานของเซนเซอร์ PMS7003 สำหรับการวัด PM10, PM2.5, PM1.0
ESP32 Programming#2: PMS7003, OLED |
วันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2563
เวลา | หัวข้อวิชา |
9:30 – 10:30 น. | การทำงานของ DS3231 สำหรับ Real Time Clock (RTC)
ESP32 Programming#4: DS3231, OLED |
10:30 – 10:45 น. | Break |
10:45 – 12:00 น. | โปรโตคอลสื่อสาร WiFi
ESP32 Programming#3: WiFi |
12:00 – 13:00 น. | Lunch |
13:00 – 14:30 น. | การสร้าง Dashboard บนโทรศัพท์มือถือ ด้วยโปรแกรม Blynk
ESP32 Programming#4: Blynk |
14:30 – 14:45 น. | Break |
14:45 – 16:30 น. | การสร้าง Dashboard ด้วยระบบ NETPIE
ESP32 Programming#5: NETPIE (Option: Line) |
พื้นฐานความรู้ที่ควรมีมาก่อน
ผศ.ดร. ฐิตินันท์ ตันติธรรม
อ.ดร. ดลวรา คุณะดิลก
อ. ณัฐชาต ธัมกิตติคุณ
นายพิเชษฐ สุขคล้าย
นายภูวเดช อินทร์ตะโคตร
อัตราค่าธรรมเนียม | หลักฐานและวิธีการชำระเงิน |
นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล 6,300 บาท | โอนเข้าบัญชี “มหาวิทยาลัยมหิดล” ธ.ไทยพาณิชย์
เลขที่บัญชี 016-210322-3 สาขา “ ศิริราช ” หลักฐานที่ใช้ 1. สำเนาใบโอนเงิน 2. สำเนาบัตรนักศึกษา |
บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล 7,100 บาท | ใช้วิธีการตัดโอนเงินระหว่างหน่วยงาน
หลักฐานที่ใช้ 1. สำเนาหนังสืออนุมัติเข้าร่วมโครงการ หรือ สำเนา ตัดโอนลงนามอนุมัติ โดยผู้บังคับบัญชาต้นสังกัด 2. สำเนาบัตรข้าราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัยมหิดล หรือ โอนเข้าบัญชี “มหาวิทยาลัยมหิดล” ธ.ไทยพาณิชย์ เลขที่บัญชี 016-210322-3 สาขา “ ศิริราช ” หลักฐานที่ใช้ 1. สำเนาใบโอนเงิน 2. สำเนาบัตรข้าราชการ/พนักงานมหาวิทยาลัยมหิดล |
บุคคลทั่วไป 7,900 บาท | โอนเข้าบัญชี “มหาวิทยาลัยมหิดล” ธ.ไทยพาณิชย์
เลขที่บัญชี 016-210322-3 สาขา “ ศิริราช ” หลักฐานที่ใช้ 1. สำเนาใบโอนเงิน 2. สำเนาบัตรประชาชน |
Email สำเนาเอกสารหลักฐานมาที่ sarachaya.chi@mahidol.ac.th, den.tup@mahidol.ac.th |