ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2564
ชื่อหลักสูตร | |
ภาษาไทย: | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล |
ภาษาอังกฤษ: | Bachelor of Science in Digital Science and Technology |
ชื่อปริญญา | |
ภาษาไทย ชื่อเต็ม: | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล |
ชื่อย่อ: | วท.บ. (วิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล) |
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม: | Bachelor of Science in Digital Science and Technology |
ชื่อย่อ: | B.Sc. (Digital Science and Technology) |
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร | 120 หน่วยกิต |
รูปแบบของหลักสูตร | หลักสูตรระดับปริญญาตรีทางวิชาชีพ 4 ปี (หลักสูตรไทย) จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย โดยเอกสารและตำราในวิชาของหลักสูตรเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ |
สถานที่จัดการเรียนการสอน | คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
|
สาขาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นหลักสูตรภาษาไทยที่เน้นกระบวนการสร้างเสริมความรู้และทักษะด้านวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้เรียนให้สามารถเชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฏีและภาคปฎิบัติเข้าด้วยกัน เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและโจทย์ในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลจากสถานการณ์จริงได้ อีกทั้งยังเน้นการฝึกปฏิบัติงาน ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ลงมือทำงานจริงกับบริษัทในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลชั้นนำด้านของประเทศไทย โดยเป็นหลักสูตรที่เน้นให้นักศึกษาได้เริ่มฝึกงานตั้งแต่ชั้นปี 2 และปี 3 ในภาคการศึกษาที่ 3 แบบ short term (2 เดือน) และสหกิจศึกษา ชั้นปี 4 เทอม 1 (4 เดือน) รวมทั้ง มีการทำ Senior Project ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ แก้ไขปัญหาจากโจทย์จริง เพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกการทำงาน อันจะส่งผลให้นักศึกษาสามารถทำงานได้จริงหลังสำเร็จการศึกษา
หลักสูตรจัดการการศึกษาแบบ Outcome-Based Education (OBE) ซึ่งมีผู้เรียนเป็นองค์ประกอบหลักและเป็นศูนย์กลาง (learning-centered education) เน้นกระบวนการสร้างเสริมความรู้และทักษะด้านวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้เรียนให้สามารถเชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฏีและภาคปฎิบัติเข้าด้วยกัน (Constructivism) เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและโจทย์ในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลจากสถานการณ์จริงได้ โดยนําองค์ความรู้และทักษะไปประยุกต์กับการแก้ปัญหาได้จริงอย่างเหมาะสมและมีจรรยาบรรณพร้อมกับ
สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคม พร้อมเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาและสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศและมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives) เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณลักษณะดังนี้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรที่นักศึกษาทุกคนต้องผ่านเกณฑ์ (Program Learning Outcomes) ดังนี้
ระบบทวิภาค 1 ปีการศึกษามี 2 ภาคการศึกษา ได้แก่ ภาคต้น หรือภาคการศึกษาที่ 1 ภาคปลาย หรือภาคการศึกษาที่ 2 และภาคฤดูร้อน (มีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร)
มีการจัดการเรียนการสอนในภาคปกติ และภาคฤดูร้อน ตามวันและเวลาราชการ ดังนี้
ภาคต้น : เดือนสิงหาคม ถึง เดือนธันวาคม
ภาคปลาย : เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม
ภาคฤดูร้อน : เดือนมิถุนายน ถึง เดือนกรกฎาคม
*สำหรับรายวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติ หรือมีการเชิญวิทยากรจากภายนอกมหาวิทยาลัย อาจมีการจัดช่วงเวลาเสาร์-อาทิตย์ หรือนอกเวลาราชการ
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต | |
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด | 12 หน่วยกิต |
รายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
รายวิชาภาษาไทย | 3 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ | 6 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาที่หลักสูตรกำหนด | 18 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ | 6 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | 4 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาภาษา | 4 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชากีฬาและสันทนาการ | 2 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาจริยธรรม | 2 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า 84 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาแกน | 48 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาบังคับภาคปฏิบัติ | 18 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้าน | 18 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้าน ประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ กลุ่มอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง กลุ่มวิทยาการข้อมูล กลุ่มความมั่นคงปลอดภัย และกลุ่มวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โดยนักศึกษาเลือกศึกษารายวิชาในกลุ่มวิชาใดก็ได้รวมกันจำนวนไม่น้อยกว่า 6 รายวิชา จำนวน 18 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี – ปฏิบัติ – ค้นคว้า) | |||
ทสวด | 331 | ระบบสมองกลฝังตัวและไซเบอร์กายภาพ | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 331 | Embedded and Cyber-Physical Systems | |
ทสวด | 332 | เทคโนโลยีการสื่อสารของอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 332 | Internet of Things Communication Technology | |
ทสวด | 333 | การพัฒนาแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 333 | IoT Platform Development | |
ทสวด | 334 | การวิเคราะห์และการแสดงผลภาพข้อมูลอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 334 | Internet of Things Data Analytics and Visualization | |
ทสวด | 335 | ความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 335 | Internet of Things Security and Privacy | |
ทสวด | 336 | อินเตอร์เน็ตสรรพสิ่งเชิงปฏิบัติ | 3 (0 – 6 – 3) |
ITDS | 336 | Practical Internet of Things |
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี – ปฏิบัติ – ค้นคว้า) | |||
ทสวด | 341 | วิทยาการข้อมูลพื้นฐาน | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 341 | Fundamentals of Data Science | |
ทสวด | 342 | คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับวิทยาการข้อมูล | 3 (3 – 0 – 6) |
ITDS | 342 | Advanced Mathematics and Statistics for Data Science | |
ทสวด | 343 | วิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 343 | Business Data Analytics | |
ทสวด | 344 | วิศวกรรมและโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 344 | Data Engineering and Infrastructure | |
ทสวด | 345 | ระบบธุรกิจอัจฉริยะ | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 345 | Business Intelligence | |
ทสวด | 346 | วิทยาการข้อมูลเชิงปฏิบัติ | 3 (0 – 6 – 3) |
ITDS | 346 | Practical Data Science |
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี – ปฏิบัติ – ค้นคว้า) | |||
ทสวด | 351 | ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ขั้นสูง | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 351 | Advanced Cybersecurity | |
ทสวด | 352 | การพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างปลอดภัย | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 352 | Secure Software Development | |
ทสวด | 353 | นิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัลพื้นฐาน | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 353 | Fundamentals of Digital Forensics | |
ทสวด | 354 | การจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์และการปฏิบัติการ | 3 (3 – 0 – 6) |
ITDS | 354 | Cyber risk management and operation | |
ทสวด | 355 | การตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 355 | IT Auditing | |
ทสวด | 356 | ความมั่นคงปลอดภัยเชิงปฏิบัติ | 3 (0 – 6 – 3) |
ITDS | 356 | Practical Cybersecurity |
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี – ปฏิบัติ – ค้นคว้า) | |||
ทสวด | 361 | การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 361 | Software Design and Development | |
ทสวด | 362 | การทดสอบและการประกันคุณภาพของซอฟต์แวร์ | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 362 | Software Quality Assurance and Testing | |
ทสวด | 363 | ข้อกำหนดและการวิเคราะห์ความต้องการของซอฟต์แวร์ | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 363 | Software Requirement Analysis and Specification | |
ทสวด | 364 | การจัดการโครงงานด้านซอฟต์แวร์ | 3 (3 – 0 – 6) |
ITDS | 364 | Software Project Management | |
ทสวด | 365 | การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบคล่องตัว | 3 (3 – 0 – 6) |
ITDS | 365 | Agile Software Development | |
ทสวด | 366 | วิศวกรรมซอฟต์แวร์เชิงปฏิบัติ | 3 (0 – 6 – 3) |
ITDS | 366 | Practical Software Engineering |
ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา 4 ปีการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
1) เรียนครบหน่วยกิตและรายวิชา และผ่านเกณฑ์ตามที่คณะและมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในหลักสูตร
2) ผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษที่กำหนดโดยมหาวิทยาลัยมหิดล
3) มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00
4) ใช้เวลาการศึกษาไม่เกิน 2 เท่าของระยะเวลาการศึกษาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
5) ไม่มีพันธะด้านหนี้สินใดๆ กับมหาวิทยาลัย
1) เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนครบและได้เกรดในเกณฑ์ผ่านครบทุกวิชาตามหลักสูตร
2) ผ่านเกณฑ์ของรายวิชาที่บังคับและกิจกรรมภาคบังคับ ตามเกณฑ์ที่คณะและมหาวิทยาลัยกำหนด
3) ผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
4) ให้นักศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อ 1) และ 2) ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษาต่อส่วนทะเบียนและประเมินผล ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด มิฉะนั้นอาจไม่ได้รับการพิจารณาเสนอชื่อต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่ออนุมัติให้ปริญญาในภาคการศึกษานั้น
ลำดับ | กิจกรรม | วันที่ |
1 | รับสมัคร (เว็บไซต์ของทปอ.) | พฤ. 25 มี.ค. – พ. 21 เม.ย. 64 |
2 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | จ. 3 พ.ค. 64 |
5 | สอบสัมภาษณ์ | พ. 5 พ.ค. 64 (เช้า) |
6 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก | จ. 10 พ.ค. 64 |
7 | ผู้สมัครยืนยันสิทธิ์ที่เว็บไซต์ของทปอ. | จ. 10 – อ. 11 พ.ค. 64 |
8 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | ส. 15 พ.ค. 64 |
9 | ขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | พ. 19 พ.ค. 64 |
10 | เปิดภาคการศึกษา | 9 ส.ค. 64 |
ลำดับ |
กิจกรรม | วันที่ |
1 | รับสมัคร (เว็บไซต์ของทปอ.) | ศ. 7 – ส. 15 พ.ค. 64 |
2 | ช่วงเวลาการแจ้งประสงค์ประมวลผลรอบที่ 2 (เว็บไซต์ของทปอ.) | 26 – 27 พ.ค. 64 |
3 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | อ. 1 มิ.ย. 64 |
4 | สอบสัมภาษณ์ | ศ. 4 มิ.ย. 64 (บ่าย) |
5 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | พฤ.10 มิ.ย. 64 |
6 | ขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | ศ.18 มิ.ย.64 |
7 | เปิดภาคการศึกษา | 9 ส.ค. 64 |
สมัครได้ที่ : เว็บไซต์ ม.มหิดล (https://tcas.mahidol.ac.th/)
เปิดรับสมัคร : 25 มี.ค. – 21 เม.ย. 2564
คุณสมบัติทางการศึกษา
1.1 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือ ได้รับประกาศนียบัตรเทียบเท่า ในแผนการเรียนวิทย์ – คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์ – คอมพิวเตอร์, คณิต – คอมพิวเตอร์ หรือ
1.2 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่มีการเรียนรายวิชาด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต หรือ
1.3 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่มีการเรียนรายวิชาด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิต
3.1 วิทยาศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 2.50
3.2 คณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 2.50
3.3 ภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 2.00
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร
สมัครได้ที่ : student.mytcas.com
ช่วงเวลาการรับสมัคร : วันที่ 7-15 พ.ค. 2564
ช่วงเวลาการแจ้งประสงค์ประมวลผลรอบที่2 : วันที่ 26 – 27 พ.ค. 2564
คุณสมบัติทางการศึกษา
1.1 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือ ได้รับประกาศนียบัตรเทียบเท่า ในแผนการเรียนวิทย์ – คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์ – คอมพิวเตอร์, คณิต – คอมพิวเตอร์ หรือ
1.2 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่มีการเรียนรายวิชาด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต หรือ
1.3 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่มีการเรียนรายวิชาด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิต
3.1 วิทยาศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 2.50
3.2 คณิตศาสตร์ ไม่น้อยกว่า 2.50
3.3 ภาษาอังกฤษ ไม่น้อยกว่า 2.00
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร
1.1 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือ ได้รับประกาศนียบัตรเทียบเท่า จะต้องมีผลสอบคะแนน 9 วิชาสามัญ ใน 5 รายวิชา ได้แก่ เคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิต 1 และอังกฤษ
1.2 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ไม่ต้องยื่นคะแนน 9 วิชาสามัญ
คุณสมบัติทางการศึกษา
1.1 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือ ได้รับประกาศนียบัตรเทียบเท่า ในแผนการเรียนวิทย์ – คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์ – คอมพิวเตอร์, คณิต – คอมพิวเตอร์ หรือ
1.2 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่มีการเรียนรายวิชาด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต หรือ
1.3 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ที่มีการเรียนรายวิชาด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 20 หน่วยกิต
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร
ประเภทการสอบ / วิชาที่สอบ | ค่าน้ำหนักร้อยละ |
1. GPAX | 20 |
2. O-NET | 30 |
3. GAT | 10 |
4. PAT | |
4.1 PAT1 (คณิตศาสตร์) 4.2 PAT2 (วิทยาศาสตร์) |
20 20 |