หลักสูตร
รายละเอียด คลิก
กำหนดการ
เรียนที่มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นเวลา 2 ปี (การเรียนรายวิชา จำนวน 3 ภาคการศึกษา) การจบการศึกษา จะต้องสอบผ่านรายวิชาและวิทยานิพนธ์ทั้งหมด 36 หน่วยกิต
ปีการศึกษา
มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตพญาไท
ภาคการศึกษาที่ 1: สิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาที่ 2: มกราคม – พฤษภาคม
ภาคการศึกษาที่ 3 (ภาคฤดูร้อน): มิถุนายน – กรกฎาคม (ไม่มีการเรียนการสอน)
สถานที่จัดการเรียนการสอน
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล (อาคารมิว ชั้น 23) ถนนวิภาวดีรังสิต กรุงเทพมหานคร
โครงสร้างของหลักสูตร
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ แบ่งการเรียนการสอนออกเป็น 4 ภาคเรียน (2 ปี) โดยในปีที่ 1 (ภาคเรียนที่ 1 และ 2) นักศึกษาจะต้องเรียนหมวดวิชาบังคับ จำนวน 18 หน่วยกิต
นักศึกษาแผน ก (วิทยานิพนธ์) จะต้องเรียน หมวดวิชาเลือก จำนวน 6 หน่วยกิต ในปีที่ 1 (ภาคเรียนที่ 1) และปีที่ 2 (ภาคเรียนที่ 1) และ วิทยานิพนธ์ จำนวน 12 หน่วยกิต ในปีที่ 2 (ภาคเรียนที่ 1) และปีที่ 2 (ภาคเรียนที่ 1 และ 2)
นักศึกษาแผน ข (สารนิพนธ์) จะต้องเรียน หมวดวิชาเลือก จำนวน 12 หน่วยกิต ในภาคเรียนที่ (โมดูล) 2 และ 3 และ โครงการวิจัย จำนวน 6 หน่วยกิต ในปีที่ 2 (ภาคเรียนที่ 1 และ 2)
แผน ก (วิทยานิพนธ์) | แผน ข (สารนิพนธ์) | |||||
หมวดวิชาบังคับ (หน่วยกิต) |
หมวดวิชาเลือก (หน่วยกิต) |
วิทยานิพนธ์ (หน่วยกิต) |
หมวดวิชาบังคับ (หน่วยกิต) |
(Credits) หมวดวิชาเลือก(หน่วยกิต) |
(Credits) สารนิพนธ์(หน่วยกิต) |
|
1st Year, 1st Semester |
12 | 12 | ||||
1st Year, 2nd Semester |
6 | 3 | 3 | 6 | 6 | |
2nd Year, 1st Semester |
3 | 3 | 6 | 3 | ||
2nd Year, 2nd Semester |
6 | 3 | ||||
Overall Program รวมไม่น้อยกว่า |
18 | 6 | 12 | 18 | 12 | 6 |
แผนการศึกษา
แผน ก (วิทยานิพนธ์)
ปีการศึกษาที่ 1 | |||||
ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
ทสคม 511 | ความมั่นคงทางคอมพิวเตอร์และเครือข่าย | 3 หน่วยกิต | ทสคม 515 | วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและสัมมนาวิจัยความมั่นคงทางไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ | 1 หน่วยกิต |
ทสคม 512 | การจัดการความมั่นคงทางสารสนเทศ | 3 หน่วยกิต | ทสคม 531 | การประกันสารสนเทศและการจัดการความเสี่ยง | 3 หน่วยกิต |
ทสคม 513 | จริยธรรมและกฎหมายไซเบอร์ | 2 หน่วยกิต | ทสคม 571 | การทำให้ระบบแข็งแกร่งและการทดสอบเจาะระบบ | 3 หน่วยกิต |
ทสคม 541 | เทคโนโลยีและเทคนิคทางนิติดิจิทัล | 3 หน่วยกิต | วิชาเลือก ไม่น้อยกว่า | 3 หน่วยกิต | |
ทสคม 698 | วิทยานิพนธ์ | 3 หน่วยกิต | |||
รวม 12 หน่วยกิต | รวม 12 หน่วยกิต | ||||
ปีการศึกษาที่ 2 | |||||
ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
วิชาเลือกไม่น้อยกว่า | 3 หน่วยกิต | ทสคม 698 | วิทยานิพนธ์ | 3 หน่วยกิต | |
ทสคม 698 | วิทยานิพนธ์ | 3 หน่วยกิต | |||
รวม 6 หน่วยกิต | รวม 6 หน่วยกิต |
แผน ข (สารนิพนธ์)
ปีการศึกษาที่ 1 | |||||
ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
ทสคม 511 | ความมั่นคงทางคอมพิวเตอร์และเครือข่าย | 3 หน่วยกิต | ทสคม 515 | วิทยาระเบียบวิธีวิจัยและสัมมนาวิจัยความมั่นคงทางไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ | 1 หน่วยกิต |
ทสคม 512 | การจัดการความมั่นคงทางสารสนเทศ | 3 หน่วยกิต | ทสคม 531 | การทำให้ระบบแข็งแกร่งและการทดสอบเจาะระบบ | 3 หน่วยกิต |
ทสคม 513 |
จริยธรรมและกฎหมายไซเบอร์ |
2 หน่วยกิต |
ทสคม 571 |
การประกันสารสนเทศและการจัดการความเสี่ยง |
3 หน่วยกิต |
ทสคม 541 | เทคโนโลยีและเทคนิคทางนิติดิจิทัล | 3 หน่วยกิต | วิชาเลือกไม่น้อยกว่า | 6 หน่วยกิต | |
รวม 12 หน่วยกิต | รวม 12 หน่วยกิต | ||||
ปีการศึกษาที่ 2 | |||||
ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
สอบประมวลความรู้ | ทสคม 697 | สารนิพนธ์ | 3 หน่วยกิต | ||
วิชาเลือกไม่น้อยกว่า | 6 หน่วยกิต | ||||
ทสคม 697 | สารนิพนธ์ | 3 หน่วยกิต | |||
รวม 9 หน่วยกิต | รวม 3 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก
นักศึกษาสามารถเลือกเรียน รายวิชาต่าง ๆ ในกลุ่มความมั่นคงทางไซเบอร์ หรือ การประกันสารสนเทศ ตามจำนวน
หน่วยกิตของแต่ละแผนได้ดังนี้
กลุ่มวิชาความมั่นคงไซเบอร์ | การประกันสารสนเทศ | ||
ทสคม 514 | การวิเคราะห์และการตรวจจับกลฉ้อฉล | ทสคม 551 | การประยุกต์การเข้ารหัส |
ทสคม 534 | วิศวกรรมผันกลับและการวิเคราะห์จุดอ่อน | ทสคม 552 | การจัดการเทคโนโลยีการยืนยันตัวตน |
ทสคม 543 | นิติเครือข่าย | ทสคม 553 | การออกแบบซอฟต์แวร์อย่างมั่นคง |
ทสคม 544 | ความมั่นคงของระบบเคลื่อนที่ | ทสคม 573 | การจัดการความมั่นคงการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ |
ทสคม 545 | ความมั่นคงของระบบคลาวด์ | ทสคม 581 | การจัดการโต้ตอบเหตุการณ์ |
ทสคม 562 | การตรวจจับและป้องกันการบุกรุก | ทสคม 592 | หัวข้อพิเศษทางการประกันสารสนเทศ |
ทสคม 591 | หัวข้อพิเศษทางความมั่นคงและนิติไซเบอร์ |
Course Description คลิก
ค่าธรรมเนียม และทุนการศึกษา
รายละเอียด คลิก
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
ปีการศึกษา | ค่าธรรมเนียมการศึกษา | ค่าใช้จ่าย | |||
นักศึกษาต่างชาติ | นักศึกษาไทย | ||||
บาท | ดอลล่าร์สหรัฐฯ [1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ~ 33 บาท] | บาท | ดอลล่าร์สหรัฐฯ [1 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ~ 33 บาท] | ||
2564 | Plan A (Thesis & Courses) Overall Program ตลอดหลักสูตร | 489,000 | 14,900 | 299,000 | 9,100 |
1st year, 1st semester | 138,700 | 81,200 | |||
1st year, 2nd semester | 196,800 | 118,800 | |||
2nd year, 1st semester | 147,700 | 93,200 | |||
2nd year, 2nd semester | 5,800 | 5,800 | |||
แผน ข (สารนิพนธ์ และรายวิชา) ตลอดหลักสูตร | 454,500 | 13,800 | 275,000 | 8,400 | |
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 1 | 138,700 | 81,200 | |||
ปีการศึกษาที่ 1 ภาคการศึกษาที่ 2 | 135,300 | 81,300 | |||
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 1 | 174,700 | 106,700 | |||
ปีการศึกษาที่ 2 ภาคการศึกษาที่ 2 | 5,800 | 5,800 |
- อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ทุนการศึกษา
มีทุนการศึกษาบางส่วนสำหรับนักศึกษาที่มีความโดดเด่น ผู้สมัครสามารถสมัครรรับทุนการศึกษาได้ โดยกรอกแบบฟอร์มใบสมัครรับทุนการศึกษา ทุนการศึกษาจะได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมกาหลักสูตรฯ เป็นกรณี ๆ ไป
ทุนสนับสนุน
การสมัคร
รายละเอียด คลิก
การสมัคร
สำหรับผู้ที่สนใจศึกษาต่อ
นักศึกษาที่มีสิทธิสมัครหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศจะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
- สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จากสถาบันการศึกษาที่สํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง ในกรณีสําเร็จการศึกษาในสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความรู้พื้นฐาน ด้านคอมพิวเตอร์ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
- มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) ไม่น้อยกว่า 3.00
- มีผลการสอบภาษาอังกฤษผ่านตาม เกณฑ์ที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดลกําหนด
- ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว อาจได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกตามดุลยพินิจของประธาน และคณะกรรมการหลักสูตรฯ
หากท่านต้องการสมัครเข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมและสมัครได้ที่ เว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย
กำหนดการรับสมัครปีการศึกษา 2566
กำหนดการ | รอบที่ 1 |
เปิดรับสมัคร | 1 ธันวาคม 2565 – 31 มกราคม 2566 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 7 กุมภาพันธ์ 2566 |
สอบสัมภาษณ์ | 8 กุมภาพันธ์ 2566 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 24 กุมภาพันธ์ 2566 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 24 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2566 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2566) | สิงหาคม 2566 |
กำหนดการ | รอบที่ 2 |
เปิดรับสมัคร | 1 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2566 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 8 เมษายน 2566 |
สอบสัมภาษณ์ | 11 เมษายน 2566 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 28 เมษายน 2566 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 28 เมษายน – 4 พฤษภาคม 2566 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2566) | สิงหาคม 2566 |
กำหนดการ | รอบที่ 3 |
เปิดรับสมัคร | 1 เมษายน –15 พฤษภาคม 2566 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบ | 23 พฤษภาคม 2566 |
สอบสัมภาษณ์ | 24 พฤษภาคม 2566 |
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 8 มิถุนายน 2566 |
รายงานตัวเข้าศึกษาและชำระค่าขึ้นทะเบียนนักศึกษาใหม่ | 8 – 13 มิถุนายน 2566 |
เปิดภาคการศึกษาที่ 1 (ปีการศึกษา 2566) | สิงหาคม 2566 |
ทำไมถึงต้องเรียนที่ มหาวิทยาลัยมหิดล
มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ทั้งในด้านการวิจัยและการศึกษา บัณฑิตของมหาวิทยาลัยฯ สร้างประโยชน์มากมายให้แก่สังคมและประเทศชาติ อีกทั้งระบบการศึกษาและการวิจัยที่ทันยุคทันสมัยของมหาวิทยาลัยฯ ยังเป็นปัจจัยที่ช่วยขับเคลื่อนให้มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศไทย และยังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติของไทยอีกด้วย นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดล ยังมีสภาพแวดล้อมทางด้านการศึกษา และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ด้านการสันทนาการที่เพรียบพร้อม อันจะช่วยเติมเต็มการเรียนของนักศึกษาในระหว่างศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดลอีกด้วย
ติดต่อเรา
ดร. อัษฎารัตน์ คูรัตน์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล
999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา
อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทรศัพท์ 0-2441-0909 โทรสาร 0-2441-0808
วิดีทัศน์แนะนำหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ
OVERVIEW
หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ
เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์ ปัจจุบันนี้เราติดต่อสื่อสารกันมากขึ้นผ่านอินเทอร์เน็ต นวัตกรรมนี้ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตสังคมและขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ดีขึ้นในระดับที่เราคาดไม่ถึงในยุคที่ทุกคนใช้คอมพิวเตอร์แบบพกพาและโทรศัพท์มือถืออย่างแพร่หลาย ทำให้เราสามารถแบ่งปันข้อมูลกับบุคคลอื่นได้ และสามารถดำเนินธุรกิจได้ทุกสถานที่และตลอดเวลาผ่านระบบเครือข่ายสื่อสารที่สามารถส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
อย่างไรก็ตาม มีคนบางกลุ่มนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด อย่างที่ทราบกันดีว่า เหตุภัยคุกคามทางไซเบอร์ และความเสียหายที่เกิดจากเหตุภัยคุกคามเหล่านั้นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะสถาบันการศึกษาจำเป็นต้องตอบสนองต่อเหตุภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนี้ จึงได้จัดตั้ง หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ความสามารถที่เรียนไปช่วยประเทศชาติในการจัดการความมั่นคงไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ
หลักสูตรปริญญามหาบัณฑิตฯ ระยะเวลาการศึกษา 2 ปี เหมาะสำหรับผู้เข้าศึกษา 2 ประเภท ได้แก่ ผู้ที่ต้องการทำงานในด้านการรักษาความปลอดภัยซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เครือข่าย ซึ่งเหมาะกับวิชาเอก “ความมั่นคงทางไซเบอร์” และผู้ที่ต้องการทำงานในด้านการจัดเก็บและแจกจ่ายข้อมูลในองค์กร ซึ่งเหมาะกับวิชาเอก “การประกันสารสนเทศ”
หากคุณต้องการพัฒนาความรู้และทักษะในด้านความมั่นคงทางไซเบอร์และการประกันสารสนเทศ หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับคุณ