ทำไมต้องเรียนหลักสูตร DST @ ICT Mahidol
สาขาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นหลักสูตรภาษาไทยที่เน้นกระบวนการสร้างเสริมความรู้และทักษะด้านวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้เรียนให้สามารถเชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเข้าด้วยกัน เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและโจทย์ในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลจากสถานการณ์จริงได้ โดยเน้นเรียนรู้ศาสตร์ทางด้าน IT 4 ด้านหลัก ได้แก่ IoT, Data Science, Cyber Security และ Software Engineering อีกทั้งยังเน้นการฝึกปฏิบัติงาน ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ลงมือทำงานจริงกับบริษัทในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลชั้นนำด้าน IT ของประเทศไทย โดยเป็นหลักสูตรที่เน้นให้นักศึกษาได้เริ่มฝึกงานตั้งแต่ชั้นปี 2 และปี 3 ในภาคการศึกษาที่ 3 แบบ short term (2 เดือน) และสหกิจศึกษา ชั้นปี 4 เทอม 1 (4 เดือน) รวมทั้ง มีการทำ Senior Project ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ แก้ไขปัญหาจากโจทย์จริง เพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกการทำงาน อันจะส่งผลให้นักศึกษาสามารถทำงานได้จริงหลังสำเร็จการศึกษา
ข้อมูลหลักสูตร
ชื่อหลักสูตร | |
ภาษาไทย: | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล |
ภาษาอังกฤษ: | Bachelor of Science in Digital Science and Technology |
ชื่อปริญญา | |
ภาษาไทย ชื่อเต็ม: | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล |
ชื่อย่อ: | วท.บ. (วิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล) |
ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม: | Bachelor of Science in Digital Science and Technology |
ชื่อย่อ: | B.Sc. (Digital Science and Technology) |
จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร | 120 หน่วยกิต |
รูปแบบของหลักสูตร | หลักสูตรระดับปริญญาตรีทางวิชาชีพ 4 ปี (หลักสูตรไทย) จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาไทย โดยเอกสารและตำราในวิชาของหลักสูตรเป็นทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ |
สถานที่จัดการเรียนการสอน | คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา |
สาขาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นหลักสูตรภาษาไทยที่เน้นกระบวนการสร้างเสริมความรู้และทักษะด้านวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้เรียนให้สามารถเชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเข้าด้วยกัน เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและโจทย์ในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลจากสถานการณ์จริงได้ อีกทั้งยังเน้นการฝึกปฏิบัติงาน ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ลงมือทำงานจริงกับบริษัทในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลชั้นนำด้าน IT ของประเทศไทย โดยเป็นหลักสูตรที่เน้นให้นักศึกษาได้เริ่มฝึกงานตั้งแต่ชั้นปี 2 และปี 3 ในภาคการศึกษาที่ 3 แบบ short term (2 เดือน) และสหกิจศึกษา ชั้นปี 4 เทอม 1 (4 เดือน) รวมทั้ง มีการทำ Senior Project ให้นักศึกษาได้เรียนรู้ แก้ไขปัญหาจากโจทย์จริง เพื่อเตรียมพร้อมสู่โลกการทำงาน อันจะส่งผลให้นักศึกษาสามารถทำงานได้จริงหลังสำเร็จการศึกษา
- สาขาวิชาที่เน้นในการเรียนการสอน
1) อินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of Things)
2) วิทยาการข้อมูล (Data Science)
3) ความมั่นคงปลอดภัย (Cyber Security)
4) วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (Software Engineering) - บริษัทคู่ความร่วมมือ อาทิ
1) กลุ่มบริษัทในเครือซีดีจี และกลุ่มบริษัทในเครือจีเอเบิล
2) บริษัท เอ็ม เอฟ อี ซี จำกัด (มหาชน)
3) บริษัท แอดวานซ์ ไวเลส เน็ทเวอร์ค จำกัด - คณาจารย์ / ผู้เชี่ยวชาญที่จะมาสอน
คณาจารย์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากบริษัทคู่ความร่วมมือ - อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
1. นักวิชาการคอมพิวเตอร์
2. โปรแกรมเมอร์
3. นักพัฒนาระบบสารสนเทศ
4. นักพัฒนาซอฟต์แวร์
5. นักวิทยาการข้อมูล (Data Science)
6. นักพัฒนาระบบด้านอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of Things)
7. นักพัฒนาระบบด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (cybersecurity)
ปรัชญา ความสำคัญ ผลลัพธ์การเรียนรู้
หลักสูตรจัดการการศึกษาแบบ Outcome-Based Education (OBE) ซึ่งมีผู้เรียนเป็นองค์ประกอบหลักและเป็นศูนย์กลาง (learning-centered education) เน้นกระบวนการสร้างเสริมความรู้และทักษะด้านวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัลของผู้เรียนให้สามารถเชื่อมโยงความรู้ภาคทฤษฏีและภาคปฎิบัติเข้าด้วยกัน (Constructivism) เพื่อการวิเคราะห์ปัญหาและโจทย์ในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลจากสถานการณ์จริงได้ โดยนําองค์ความรู้และทักษะไปประยุกต์กับการแก้ปัญหาได้จริงอย่างเหมาะสมและมีจรรยาบรรณพร้อมกับ สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ มีความคิดสร้างสรรค์และสร้างนวัตกรรมที่มีประโยชน์ต่อสังคม พร้อมเป็นกําลังสําคัญในการพัฒนาและสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศและมีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร (Program Objectives) เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษามีคุณลักษณะดังนี้
- มีความรู้และทักษะด้านวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัลเป็นอย่างดี มีพื้นฐาน ความรู้และการปฏิบัติที่ประยุกต์กับการทำงานจริงได้ และเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต
- สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง ด้านวิทยาการข้อมูล และด้านความมั่นคงปลอดภัย สำหรับประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมดิจิทัลได้
- เป็นมืออาชีพ มีจรรยาบรรณ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และเคารพต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัลได้
- สามารถสื่อสารในหัวข้อของความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลกับกลุ่มคนหลากหลายได้
- รู้จักการทำงานเป็นทีมและมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรที่นักศึกษาทุกคนต้องผ่านเกณฑ์ (Program Learning Outcomes) ดังนี้
- PLO1: แก้ปัญหาด้านเทคโนโลยีดิจิทัลโดยใช้ความรู้และทักษะทางวิชาชีพด้านวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเหมาะสมและมีจรรยาบรรณ (Solve problems related to digital technology appropriately and ethically by using knowledge and professional skills in digital science and technology)
- PLO2: แสดงการสื่อสารในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นมืออาชีพ (Demonstrate effective communication in topics related to digital technology in a professional way)
- PLO3: แสดงความสามารถในการเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิต โดยการค้นคว้าหาความรู้ใหม่และปรับปรุงทักษะวิชาชีพของตนเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ (Demonstrate the abilities of life-long learners that consistently gain new knowledge and improve oneself’s professional skills to always be up-to-date.)
- PLO4: พัฒนาระบบดิจิทัลที่พร้อมใช้งานจริงในอุตสาหกรรมดิจิทัลได้อย่างมีความรับผิดชอบในวิชาชีพ (Develop a digitalized system for practical use in digital industry with professional responsibility)
- PLO5: แสดงหน้าที่ความรับผิดชอบต่อส่วนตัว ต่อสังคม และจริยธรรมที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Recognize the individual, social, and ethical responsibilities of working in digital technology)
- PLO6: แสดงความสามารถในการทำงานเป็นทีมเพื่อบรรลุเป้าหมายที่กำหนด (Demonstrate abilities to work as a team to achieve a designated goal)
โครงสร้างหลักสูตร
ระบบทวิภาค 1 ปีการศึกษามี 2 ภาคการศึกษา ได้แก่ ภาคต้น หรือภาคการศึกษาที่ 1 ภาคปลาย หรือภาคการศึกษาที่ 2 และภาคฤดูร้อน (มีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน ที่ถือเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร)
มีการจัดการเรียนการสอนในภาคปกติ และภาคฤดูร้อน ตามวันและเวลาราชการ ดังนี้
ภาคต้น : เดือนสิงหาคม ถึง เดือนธันวาคม
ภาคปลาย : เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม
ภาคฤดูร้อน : เดือนมิถุนายน ถึง เดือนกรกฎาคม
*สำหรับรายวิชาที่มีการฝึกปฏิบัติ หรือมีการเชิญวิทยากรจากภายนอกมหาวิทยาลัย อาจมีการจัดช่วงเวลาเสาร์-อาทิตย์ หรือนอกเวลาราชการ
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต | |
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป | ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาที่มหาวิทยาลัยกำหนด | 12 หน่วยกิต |
รายวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | 3 หน่วยกิต |
รายวิชาภาษาไทย | 3 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ | 6 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาที่หลักสูตรกำหนด | 18 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ | 6 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ | 4 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาภาษา | 4 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชากีฬาและสันทนาการ | 2 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาจริยธรรม | 2 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเฉพาะ | ไม่น้อยกว่า 84 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาแกน | 48 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาบังคับภาคปฏิบัติ | 18 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้าน | 18 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือกเสรี | ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต |
กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้าน ประกอบด้วย 4 กลุ่ม คือ กลุ่มอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง กลุ่มวิทยาการข้อมูล กลุ่มความมั่นคงปลอดภัย และกลุ่มวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โดยนักศึกษาเลือกศึกษารายวิชาในกลุ่มวิชาใดก็ได้รวมกันจำนวนไม่น้อยกว่า 6 รายวิชา จำนวน 18 หน่วยกิต ดังต่อไปนี้
(1) กลุ่มวิชาอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี – ปฏิบัติ – ค้นคว้า) | |||
ทสวด | 331 | ระบบสมองกลฝังตัวและไซเบอร์กายภาพ | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 331 | Embedded and Cyber-Physical Systems | |
ทสวด | 332 | เทคโนโลยีการสื่อสารของอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 332 | Internet of Things Communication Technology | |
ทสวด | 333 | การพัฒนาแพลตฟอร์มอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 333 | IoT Platform Development | |
ทสวด | 334 | การวิเคราะห์และการแสดงผลภาพข้อมูลอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 334 | Internet of Things Data Analytics and Visualization | |
ทสวด | 335 | ความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของข้อมูลอินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 335 | Internet of Things Security and Privacy | |
ทสวด | 336 | อินเตอร์เน็ตสรรพสิ่งเชิงปฏิบัติ | 3 (0 – 6 – 3) |
ITDS | 336 | Practical Internet of Things |
(2) กลุ่มวิชาวิทยาการข้อมูล
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี – ปฏิบัติ – ค้นคว้า) | |||
ทสวด | 341 | วิทยาการข้อมูลพื้นฐาน | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 341 | Fundamentals of Data Science | |
ทสวด | 342 | คณิตศาสตร์และสถิติสำหรับวิทยาการข้อมูล | 3 (3 – 0 – 6) |
ITDS | 342 | Advanced Mathematics and Statistics for Data Science | |
ทสวด | 343 | วิเคราะห์ข้อมูลธุรกิจ | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 343 | Business Data Analytics | |
ทสวด | 344 | วิศวกรรมและโครงสร้างพื้นฐานข้อมูล | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 344 | Data Engineering and Infrastructure | |
ทสวด | 345 | ระบบธุรกิจอัจฉริยะ | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 345 | Business Intelligence | |
ทสวด | 346 | วิทยาการข้อมูลเชิงปฏิบัติ | 3 (0 – 6 – 3) |
ITDS | 346 | Practical Data Science |
(3) กลุ่มวิชาความมั่นคงปลอดภัย
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี – ปฏิบัติ – ค้นคว้า) | |||
ทสวด | 351 | ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ขั้นสูง | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 351 | Advanced Cybersecurity | |
ทสวด | 352 | การพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างปลอดภัย | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 352 | Secure Software Development | |
ทสวด | 353 | นิติวิทยาศาสตร์ดิจิทัลพื้นฐาน | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 353 | Fundamentals of Digital Forensics | |
ทสวด | 354 | การจัดการความเสี่ยงทางไซเบอร์และการปฏิบัติการ | 3 (3 – 0 – 6) |
ITDS | 354 | Cyber risk management and operation | |
ทสวด | 355 | การตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 355 | IT Auditing | |
ทสวด | 356 | ความมั่นคงปลอดภัยเชิงปฏิบัติ | 3 (0 – 6 – 3) |
ITDS | 356 | Practical Cybersecurity |
(4) กลุ่มสาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
จำนวนหน่วยกิต (ทฤษฎี – ปฏิบัติ – ค้นคว้า) | |||
ทสวด | 361 | การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 361 | Software Design and Development | |
ทสวด | 362 | การทดสอบและการประกันคุณภาพของซอฟต์แวร์ | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 362 | Software Quality Assurance and Testing | |
ทสวด | 363 | ข้อกำหนดและการวิเคราะห์ความต้องการของซอฟต์แวร์ | 3 (2 – 2 – 5) |
ITDS | 363 | Software Requirement Analysis and Specification | |
ทสวด | 364 | การจัดการโครงงานด้านซอฟต์แวร์ | 3 (3 – 0 – 6) |
ITDS | 364 | Software Project Management | |
ทสวด | 365 | การพัฒนาซอฟต์แวร์แบบคล่องตัว | 3 (3 – 0 – 6) |
ITDS | 365 | Agile Software Development | |
ทสวด | 366 | วิศวกรรมซอฟต์แวร์เชิงปฏิบัติ | 3 (0 – 6 – 3) |
ITDS | 366 | Practical Software Engineering |
ค่าเล่าเรียน และเกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา 4 ปีการศึกษา
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- นักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนดังต่อไปนี้
1) เรียนครบหน่วยกิตและรายวิชา และผ่านเกณฑ์ตามที่คณะและมหาวิทยาลัยกำหนดไว้ในหลักสูตร
2) ผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษที่กำหนดโดยมหาวิทยาลัยมหิดล
3) มีแต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ำกว่า 2.00
4) ใช้เวลาการศึกษาไม่เกิน 2 เท่าของระยะเวลาการศึกษาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
5) ไม่มีพันธะด้านหนี้สินใดๆ กับมหาวิทยาลัย
- นักศึกษาที่มีสิทธิ์ได้รับปริญญาเกียรตินิยมของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการและเทคโนโลยีดิจิทัล ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในข้อบังคับมหาวิทยาลัยมหิดล ว่าด้วยการศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี พ.ศ. 2552 และฉบับเพิ่มเติมที่ 1-10 ของมหาวิทยาลัย รวมถึงในกรณีที่มีการเรียน
ในภาคฤดูร้อน และ/หรือการโอนหน่วยกิตของรายวิชาในทุกภาคการศึกษา ของนักศึกษาที่ได้ศึกษาในโครงการแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่งคณะฯ หรือมหาวิทยาลัยฯ ได้ลงนามข้อตกลงร่วมมือกันไว้แล้ว - นักศึกษาที่มีสิทธิ์แสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษา ต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนดังนี้
1) เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนครบและได้เกรดในเกณฑ์ผ่านครบทุกวิชาตามหลักสูตร
2) ผ่านเกณฑ์ของรายวิชาที่บังคับและกิจกรรมภาคบังคับ ตามเกณฑ์ที่คณะและมหาวิทยาลัยกำหนด
3) ผ่านเกณฑ์ภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
4) ให้นักศึกษาที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ระบุไว้ในข้อ 1) และ 2) ยื่นคำร้องแสดงความจำนงขอสำเร็จการศึกษาต่อส่วนทะเบียนและประเมินผล ภายในระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด มิฉะนั้นอาจไม่ได้รับการพิจารณาเสนอชื่อต่อสภามหาวิทยาลัยเพื่ออนุมัติให้ปริญญาในภาคการศึกษานั้น
กำหนดการรับสมัคร
ลำดับ | กิจกรรม | รอบที่ 1/1 |
1 | รับสมัคร | ต.ค. 2567 |
2 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | TBA |
3 | สอบสัมภาษณ์ | TBA |
4 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก (ตัวจริงและตัวสำรอง) | TBA |
5 | ผู้ผ่านการคัดเลือกกลุ่มตัวจริง ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS | TBA |
6 | ผู้ผ่านการคัดเลือกกลุ่มสำรอง ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS | TBA |
7 | ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาในระบบ MU-TCAS | TBA |
8 | ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) | TBA |
9 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | TBA |
10 | Preparatory Program | TBA |
11 | เปิดภาคการศึกษา | TBA |
ลำดับ | กิจกรรม | วันที่ |
1 | รับสมัคร | มี.ค. – เม.ย. 2568 |
2 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | TBA |
3 | สอบสัมภาษณ์ | TBA |
4 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก (ตัวจริงและตัวสำรอง) | TBA |
5 | ผู้ผ่านการคัดเลือกกลุ่มตัวจริง ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS | TBA |
6 | ผู้ผ่านการคัดเลือกกลุ่มสำรอง ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS | TBA |
7 | ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS | TBA |
8 | ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) | TBA |
9 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | TBA |
10 | ICT Preparatory Program | TBA |
11 | เปิดภาคการศึกษา | TBA |
ลำดับ | กิจกรรม | วันที่ |
1 | รับสมัคร | พ.ค. 2568 |
2 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก | TBA |
3 | ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) | TBA |
4 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา |
TBA |
5 | ICT Preparatory Program | TBA |
6 | เปิดภาคการศึกษา | TBA |
–จะประกาศให้ทราบอีกครั้ง–
รายละเอียดการรับสมัคร
รอบ 1/1: ตุลาคม 2567
สมัครได้ที่: https://tcas.mahidol.ac.th/
คุณสมบัติทางการศึกษา
- กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
- มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า แผนการเรียน วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์–คอมพิวเตอร์, คณิต–คอมพิวเตอร์ หรือ
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่มีการเรียนรายวิชาด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 4 ภาคการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.50
- มีคะแนนเฉลี่ยสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แต่ละสาระการเรียนรู้ไม่ต่ำกว่า 2.50 (เฉพาะผู้สมัครวุฒิ ม.6)
หมายเหตุ: สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาไทย
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร
- Portfolio ภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 10 หน้า (.pdf จำนวน 1 ไฟล์)
- เรียงความภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 (.pdf) ในหัวข้อ “เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต”
- Video Presentation ประวัติและผลงาน เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 3 นาที (.mp4)
- ใบแสดงผลการศึกษา (ปพ.1) ฉบับสมบูรณ์ หรือ 4 ภาคการศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 (.pdf)
- รูปถ่าย (.jpg)
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
- สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **
รับสมัคร: มีนาคม – เมษายน 2568
สมัครได้ที่: https://tcas.mahidol.ac.th/
คุณสมบัติทางการศึกษา
- กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
- มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า ทุกแผนการศึกษา หรือ กศน. หรือ
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่มีการเรียนรายวิชาด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
- ตรงตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- เป็นนักเรียนในกลุ่มโรงเรียน MoU ได้แก่
- โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์
- โรงเรียนอัสสัมชัญ
- โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
- โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
- โรงเรียนนาคประสิทธิ์ มูลนิธิวัดบางช้างเหนือ
- โรงเรียนสตรีวิทยา2 ในพระราชูปถัมภ์
- โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
- โรงเรียนกรพิทักษ์ศึกษา
- โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
- โรงเรียนสุคนธีรวิทย์
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หรือ
- เป็นนักเรียนที่ผ่านการเข้าค่าย สอวน. / ค่ายโอลิมปิกวิชาการ หรือ
- ได้รับรางวัลการแข่งขันด้าน IT ในระดับจังหวัดขึ้นไป
- เป็นนักเรียนในกลุ่มโรงเรียน MoU ได้แก่
- มีคะแนนสอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
-
- TGAT, TPAT3
- TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 25 คะแนน
- TPAT3 ≥ 40 คะแนน
- TGAT, TPAT3
หรือ
-
- A-Level
- คณิตศาสตร์ 1 ≥ 20 คะแนน
- ภาษาอังกฤษ ≥ 30 คะแนน
- A-Level
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) อย่างน้อย 5 ภาคการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 3.00
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร
- เรียงความภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 (.pdf) ในหัวข้อ “เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต”
- เอกสารแสดงการเป็นนักเรียนในโรงเรียนกลุ่ม MoU หรือใบประกาศนียบัตรผ่านเข้าค่าย สอวน. / ค่ายโอลิมปิกวิชาการ หรือ ใบประกาศนียบัตรผลการแข่งขันด้าน IT
- คะแนนสอบ TGAT, TPAT3 หรือ A-Level คณิตศาสตร์ 1, ภาษาอังกฤษ
- ใบแสดงผลการศึกษา (ปพ.1) ฉบับสมบูรณ์ หรืออย่างน้อย 5 ภาคการศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00 (.pdf)
- รูปถ่าย(.jpg)
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง(.pdf)
- สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง(.pdf)
** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **
รับสมัคร: พฤษภาคม 2568
สมัครได้ที่: https://www.mytcas.com/
คุณสมบัติทางการศึกษา
คุณสมบัติทางการศึกษา
- กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
- มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า ทุกแผนการศึกษา หรือ กศน. หรือ
- ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ที่มีการเรียนรายวิชาด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
- มีผลสอบ ดังนี้
-
- TGAT, TPAT3
- TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 30 คะแนน
- TPAT3 ≥ 40 คะแนน
- A-Level
- คณิตศาสตร์ 1 ≥ 20 คะแนน
- ภาษาอังกฤษ ≥ 30 คะแนน
- TGAT, TPAT3
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 6 ภาคการศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.50
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร
- คะแนน TGAT, TPAT3 (ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์) และ A-Level (คณิตศาสตร์ 1, ภาษาอังกฤษ)
เกณฑ์การสมัคร / การคัดเลือก
*จะประกาศให้ทราบภายหลัง*
** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **
*รายละเอียดจะประกาศให้ทราบภายหลัง*