กำหนดการ
นักศึกษาจะศึกษาที่มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นเวลา 36 เดือน (3 ปี) แบ่งออกเป็น 2 ภาคเรียนต่อปีการศึกษา
ปีการศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 1: สิงหาคม – ธันวาคม
ภาคการศึกษาที่ 2: มกราคม – พฤษภาคม
ภาคการศึกษาที่ 3 (ภาคฤดูร้อน): พฤษภาคม – กรกฎาคม (ไม่มีการเรียนการสอน)
สถานที่การจัดการเรียนการสอน
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม
เวลาเรียน
วันธรรมดา ในเวลาราชการ (9:00 – 16:00 น.)
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร
แผน 1.1 (วิทยานิพนธ์)
- ใช้เวลาในการศึกษาตามแผนการศึกษา
- ศึกษารายวิชาต่างๆ ตามโครงสร้างของหลักสูตร คือ ทำวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต รวมจำนวนหน่วยกิตที่ต้องศึกษาตลอดหลักสูตร 48 หน่วยกิต
- ต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
- ต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- ต้องเข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- ต้องเสนอวิทยานิพนธ์ และสอบวิทยานิพนธ์ผ่านด้วยวิธีการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
- ผลงานหรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับการตีพิมพ์หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่มีผู้ประเมิน อย่างน้อย 2 ฉบับ
แผน 2.1 (วิทยานิพนธ์ และ รายวิชา)
- ใช้เวลาในการศึกษาตามแผนการศึกษา
- ศึกษารายวิชาต่างๆ ตามโครงสร้างของหลักสูตร คือ ต้องศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ 36 หน่วยกิต รวมจำนวนหน่วยกิตที่ต้องศึกษาตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต โดยต้องได้แต้มระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.00
- ต้องสอบผ่านการสอบวัดคุณสมบัติ (Qualifying Examination)
- ต้องสอบผ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- ต้องเข้าร่วมกิจกรรมเสริมทักษะการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมผ่านตามเกณฑ์ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล
- ต้องเสนอวิทยานิพนธ์ และสอบวิทยานิพนธ์ผ่านด้วยวิธีการสอบปากเปล่าขั้นสุดท้าย โดยคณะกรรมการที่บัณฑิตวิทยาลัยแต่งตั้ง และการสอบเป็นระบบเปิดให้ผู้สนใจเข้ารับฟังได้
- ผลงานวิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ ต้องได้รับตีพิมพ์หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัย
โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร ทั้งหมดประกอบด้วย 6 ภาคการศึกษา (2 ภาคการศึกษาต่อ 1 ปีการศึกษา) จำนวนหน่วยกิต ขึ้นอยู่กับแผนการศึกษาที่เลือก
รายวิชา | แผน 1.1 | แผน 2.1 |
รายวิชาบังคับ | – | 9 หน่วยกิต |
รายวิชาเลือกไม่น้อยกว่า | – | 3 หน่วยกิต |
วิทยานิพนธ์ | 48 หน่วยกิต | 36 หน่วยกิต |
รวมไม่น้อยกว่า | 48 หน่วยกิต | 48 หน่วยกิต |
แผนการศึกษา
แผน 1.1 (วิทยานิพนธ์):
ชั้นปี 1 | |||||
ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
* ทสคพ 671 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 | 1 หน่วยกิต | * ทสคพ 672 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 | 1 หน่วยกิต |
ทสคพ 898 | วิทยานิพนธ์ | 9 หน่วยกิต | วิทยานิพนธ์ | 9 หน่วยกิต | |
รวม 9 หน่วยกิต | รวม 9 หน่วยกิต | ||||
ชั้นปี 2 | |||||
ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
* ทสคพ 673 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3 | 1 หน่วยกิต | ทสคพ 898 | วิทยานิพนธ์ | 9 หน่วยกิต |
ทสคพ 898 | วิทยานิพนธ์ | 9 หน่วยกิต | |||
รวม 9 หน่วยกิต | รวม 9 หน่วยกิต | ||||
ชั้นปี 3 | |||||
ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
ทสคพ 898 | วิทยานิพนธ์ | 6 หน่วยกิต | ทสคพ 898 | วิทยานิพนธ์ | 6 หน่วยกิต |
รวม 6 หน่วยกิต | รวม 6 หน่วยกิต |
* ลงทะเบียนเรียนประเภท Audit
แผน 2.1 (วิทยานิพนธ์ และ รายวิชา):
ชั้นปี 1 | |||||
ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
ทสคพ 531 | คณิตศาสตร์สำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ | 3 หน่วยกิต | ทสคพ 532 | รากฐานของวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ | 3 หน่วยกิต |
ทสคพ 671 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 | 1 หน่วยกิต | ทสคพ 672 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 | 1 หน่วยกิต |
รายวิชาเลือก * ไม่น้อยกว่า | 3 หน่วยกิต | ||||
รวม 4 หน่วยกิต | รวม 7 หน่วยกิต | ||||
ชั้นปี 2 | |||||
ภาคการศึกษาที่ 1 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
ทสคพ 673 | การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3 | 1 หน่วยกิต | ทสคพ 699 | วิทยานิพนธ์ | 9 หน่วยกิต |
ทสคพ 699 | วิทยานิพนธ์ | 9 หน่วยกิต | |||
รวม 10 หน่วยกิต | รวม 9 หน่วยกิต | ||||
ชั้นปี 3 | |||||
ภาคการศึกษาที่ 2 | ภาคการศึกษาที่ 2 | ||||
ทสคพ 699 | วิทยานิพนธ์ | 9 หน่วยกิต | ทสคพ 699 | วิทยานิพนธ์ | 9 หน่วยกิต |
รวม 9 หน่วยกิต | รวม 9 หน่วยกิต |
หมวดวิชาเลือก
กลุ่มฐานข้อมูล | กลุ่มเครือข่ายสื่อสารและความมั่นคง | ||||
ทสคพ 628 | เหมืองข้อมูลและการค้นพบองค์ความรู้ | 3 หน่วยกิต | ทสคพ 551 | การคำนวณเชิงบริการและคลาวด | 3 หน่วยกิต |
ทสคพ 629 | วิศวกรรมความรู้ | 3 หน่วยกิต | ทสคพ 554 | การจัดการความมั่นคงของสารสนเทศ | 3 หน่วยกิต |
ทสคพ 682 | ระบบฐานข้อมูลขั้นสูง | 3 หน่วยกิต | ทสคพ 634 | การจำลองแบบแถวคอยในเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ | 3 หน่วยกิต |
ทสคพ 638 | ความมั่นคงของระบบเครือข่ายและระบบแบบกระจาย | 3 หน่วยกิต | |||
ทสคพ 653 | สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง | 3 หน่วยกิต | |||
ทสคพ 687 | ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ขั้นสูง | 3 หน่วยกิต | |||
กลุ่มปัญญาประดิษฐ์ | กลุ่มวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | ||||
ทสคพ 660 | วิธีการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ | 3 หน่วยกิต | ทสคพ 642 | การจัดการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | 3 หน่วยกิต |
ทสคพ 661 | ปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง | 3 หน่วยกิต | ทสคพ 644 | การประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ | 3 หน่วยกิต |
ทสคพ 662 | การรู้จำรูปแบบขั้นสูง | 3 หน่วยกิต | ทสคพ 646 | วิศวกรรมความต้องการ | 3 หน่วยกิต |
ทสคพ 663 | การประมวลผลภาพและสัญญาณ | 3 หน่วยกิต | ทสคพ 651 | การออกแบบและการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยแบบจำลอง | 3 หน่วยกิต |
ทสคพ 665 | การประมวลผลภาษาธรรมชาติ | 3 หน่วยกิต | ทสคพ 657 | การตรวจสอบความสมเหตุสมผลและการทวนสอบ | 3 หน่วยกิต |
ทสคพ 667 | คอมพิวเตอร์วิทัศน์ขั้นสูง | 3 หน่วยกิต | |||
หมวดวิชาเลือกอื่นๆ | |||||
ทสคพ 571 | วิธีเชิงตัวเลขสำหรับการทำให้เหมาะสมที่สุดเชิงคณิตศาสตร์ | 3 หน่วยกิต | |||
ทสคพ 695 | การศึกษาอิสระ | 3 หน่วยกิต |
คำอธิบายรายวิชา
หัวข้อต่าง ๆ ในแต่ละรายวิชา ดังนี้
ทสคพ 531 คณิตศาสตร์สำหรับวิทยาการคอมพิวเตอร์ | ทสคพ 532 รากฐานของวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ |
รากฐานของคณิตศาสตร์ขั้นสูงที่ใช้ในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เซตและตรรกศาสตร์ระดับสูง วิธีการพิสูจน์ทฤษฏีขั้นสูงทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ ตรรกศาสตร์รูปนัย คณิตศาสตร์อุปนัย ทฤษฎี กราฟ ทฤษฎีจำนวนเชิงวิทยาการคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข หลักการเชิงการจัด ความน่าจะเป็นเชิงวิยุต เครื่องสถานะ พีชคณิตบูลีน ออโตมาตาแบบจำกัด ภาษาไม่พึ่งบริบท | รากฐานทฤษฏีการคำนวณที่ใช้ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ การออกแบบและวิเคราะห์ขั้นตอน วิธี ความซับซ้อนเชิงคำนวณ ตัวแบบการคำนวณ การคำนวณทางวิทยาศาสตร์ การประยุกต์ของวิทยาศาสตร์เชิงคำนวณ เทคนิคการจำลอง วิธีเชิงตัวเลข การคำนวณเชิงสมรรถนะสูง |
ทสคพ 671 การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 1 | ทสคพ 672 การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 2 |
ความรู้ในหัวข้อปัจจุบันของงานวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ความรู้ระเบียบวิธีทำวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ประเด็น ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้นเกี่ยวกับทฤษฎีและการประยุกต์ใช้วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและความเป็นมืออาชีพของนักวิทยาการคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทางวรรณกรรม | ความรู้ในหัวข้อปัจจุบันของงานวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีทำวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ประเด็น ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับทฤษฏีและการประยุกต์ใช้วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและความเป็นมืออาชีพของนักวิทยาการคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทางวรรณกรรม |
ทสคพ 673 การสัมมนาทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ 3 | ทสคพ 628 เหมืองข้อมูลและการค้นพบองค์ความรู้ |
ความรู้ในหัวข้อปัจจุบันของงานวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ การประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีทำวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ประเด็น ปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาเกี่ยวกับทฤษฎีและการประยุกต์ใช้วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศที่เฉพาะเจาะจง คุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณและความเป็นมืออาชีพของนักวิทยาการคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทางวรรณกรรม | เทคนิคและขั้นตอนวิธีการทำเหมืองข้อมูล กระบวนการค้นพบองค์ความรู้ การจัดเตรียมข้อมูล การจำรูปแบบ กฎความสัมพันธ์ เทคนิคการแบ่งประเภทข้อมูล เทคนิคการแบ่งกลุ่มข้อมูล การประยุกต์ใช้วิธีการทำเหมืองข้อมูล เทคนิคขั้นสูงของการทำเหมืองข้อมูล การทำเหมืองข้อมูลเว็บ การทำเหมืองข้อความ การทำเหมืองข้อมูลเชิงสาย การทำเหมืองข้อมูลเชิงต่อเนื่อง การสร้างมโนภาพเหมืองข้อมูล |
ทสคพ 629 วิศวกรรมความรู้ | ทสคพ 682 ระบบฐานข้อมูลขั้นสูง |
หลักการของวิศวกรรมความรู้ ส่วนประกอบและสถาปัตยกรรมของระบบฐานความรู้กระบวนการและเทคนิคการสร้างระบบฐานความรู้ เทคนิคการได้ความรู้ รูปแบบ วิธีการ และเทคนิคการอธิบายฐานความรู้ การแทนความรู้และการให้เหตุผล เครื่องมือวิศวกรรมความรู้ การประยุกต์วิศวกรรมความรู้ในหลายสาขา | ระบบจัดการฐานข้อมูลขั้นสูง การจัดการฐานข้อมูลแบบซ้ำซ้อน การประมวลผลข้อคำถามขั้นสูง ฐานข้อมูลเชิงขนานและเชิงกระจาย คลังข้อมูล การประมวลผลเชิงวิเคราะห์แบบออนไลน์ การบูรณาการข้อมูลแบบกระจาย เครื่องมือค้นหาของเอ็กซ์เอ็มแอล การจัดการข้อมูลเว็บและกึ่งโครงสร้าง ฐานข้อมูลสื่อประสม ระบบที่แตกต่างกันและระบบเชิงเท่าเทียมกัน |
ทสคพ 551 การคำนวณเชิงบริการและคลาวด์ | ทสคพ 554 การจัดการความมั่นคงของสารสนเทศ |
แนวคิด ทฤษฎี และเทคนิคสำหรับการคำนวณเชิงบริการ การบริการทางเว็บและสถาปัตยกรรมเชิงบริการ การจัดการกระบวนการทางธุรกิจ องค์ประกอบการบริการทางเว็บ เว็บเชิงความหมายและออนโทโลยี การบรรยาย การค้นพบ และการมีส่วนร่วมของการบริการทางเว็บ การคำนวณแบบคลาวด์ สถาปัตยกรรมและส่วนประกอบของคลาวด์ การบริการของคลาวด์ คุณลักษณะของคลาวด์ ความมั่นคงแบบคลาวด์ การคุกคาม และความเป็นส่วนตัว | หลักการและนโยบายควบคุมการเข้าถึง ประเด็นและการบริหาร ความมั่นคงของการสื่อสารบนเครือข่ายโทรคมนาคม ความมั่นคงของเครือข่าย และความมั่นคงของอินเตอร์เน็ต การจัดการความเสี่ยงและการวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจ นโยบาย มาตรฐาน และองค์การความมั่นคง สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และความมั่นคงของระบบ กฎหมาย การสอบสวนและจริยธรรม ความมั่นคงของโปรแกรมประยุกต์ วิทยาการเข้ารหัสลับ ความมั่นคงของการปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ ความมั่นคงทางกายภาพ แผนการและการจัดการกู้คืนภัยพิบัติ การตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ |
ทสคพ 634 การจำลองแบบแถวคอยในเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์ | ทสคพ 638 ความมั่นคงของระบบเครือข่ายและระบบแบบกระจาย |
การจำลองเชิงวิเคราะห์ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร การประเมินสมรรถนะ ระบบมาร์โคเวียน เครือข่ายเปิด เครือข่ายปิด การประมาณค่า การแยกออกเป็นส่วนๆ การจำลอง การวิเคราะห์ความอ่อนไหว การปฏิบัติการที่เหมาะสมที่สุดของระบบและข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ | ความมั่นคงของระบบเครือข่ายและระบบเชิงกระจาย วิทยาการเข้ารหัสลับพื้นฐาน การคุกคามและช่องโหว่ในระบบเชิงกระจาย บริการความมั่นคงที่รวมถึง การรักษาความลับ การพิสูจน์ตัวตน บูรณภาพ การไม่สามารถปฏิเสธการควบคุมการเข้าถึง และการบูรณาการในโพรโทคอลของเครือข่าย การจัดการกุญแจ โพรโทคอลการเข้ารหัสลับและการวิเคราะห์ การควบคุมการเข้าถึง การมอบและการเพิกถอนสิทธิ์ในระบบเชิงกระจาย สถาปัตยกรรมความมั่นคง ความมั่นคงหลายระ |
ทสคพ 653 สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ขั้นสูง | ทสคพ 687 ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ขั้นสูง |
สถาปัตยกรรมของชุดคำสั่ง การทำงานเชิงขนานในระดับคำสั่ง การทำงานเชิงขนานในระดับสายใย สถาปัตยกรรมแบบส่งผ่านท่อและสเกลาร์ขั้นสูง สถาปัตยกรรมเอสไอเอ็มดี (หนึ่งคำสั่งหลายข้อมูล) หน่วยประมวลผลแบบเวกเตอร์ สถาปัตยกรรมเอ็มไอเอ็มดี (หลายคำสั่งหลายข้อมูล) การทำงานของหลายสายใยพร้อมกัน การดำเนินการแบบไม่เป็นลำดับ การคาดการณ์ทางแยก การคาดการณ์ข้อมูล การจัดการข้อยกเว้น การออกแบบลำดับชั้นของหน่วยความจำขั้นสูง ความสอดคล้องกันและความตรงกันของหน่วยความจำ หน่วยประมวลผลแบบหลายหน่วย หน่วยประมวลผลตัวเลข ตัวแบบของการสื่อสารระหว่างหน่วยประมวลผล หน่วยข้อมูลเข้าและหน่วยข้อมูลออก สถาปัตยกรรมการสื่อสารของเครือข่าย เครือข่ายบนชิป การประเมินสมรรถนะ | งานวิจัยขั้นสูงด้านความมั่นคงของคอมพิวเตอร์ การโจมตีและการป้องกัน การพิสูจน์ตัวตนและการควบคุมการเข้าถึง ตัวแบบและนโยบายความมั่นคง ความมั่นคงหลายระดับ สถาปัตยกรรมความมั่นคง ตัวแบบและกลไกบูรณภาพ การวิเคราะห์ความต้องการของความมั่นคง ความมั่นคงของภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ความมั่นคงของเครือข่าย ความมั่นคงของซอฟต์แวร์ ความมั่นคงของเว็บ ประเด็นของความมั่นคงและความเป็นส่วนตัวใน การคำนวณของคลาวด์ ความมั่นคงในอุปกรณ์มือถือและอุปกรณ์การแพทย์ เทคนิคและเครื่องมือการวิเคราะห์สำหรับการค้นพบช่องโหว่และการวิเคราะห์การคุกคาม |
ทสคพ 660 วิธีการแก้ปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ | ทสคพ 661 ปัญญาประดิษฐ์ขั้นสูง |
การค้นหาแบบฮิวริสติก สำหรับการแก้ปัญหาการคำนวณที่ยาก เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่เหมาะสมและปรับปรุงความน่าเชื่อถือของระบบ วิธีการฮิวริสติกสำหรับการค้นหาที่มากกว่าค่าเหมาะสมเฉพาะที่การหาค่าตัวแปรแบบต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องในมิติการค้นหาแบบคงที่และแบบไดนามิกส์ การค้นหาเฉพาะที่แบบเฟ้นสุ่ม วิธีการแนววิถี รวมถึงการหลอมจำลองและการค้นหาเชิงห้าม วิธีการเชิงประชากรที่ใช้แนวทางของการคำนวณวิวัฒนาการ การประยุกต์ด้านการวิจัยการดำเนินงาน ด้านชีวสารสนเทศ ด้านความมั่นคงไซเบอร์ และด้านวิศวกรรมศาสตร์ | แนวคิดและเทคนิคที่จำเป็นสำหรับการทำวิจัยและการศึกษา ทางด้านปัญญาประดิษฐ์ ปัญหาของการแทนความรู้ ตัวแบบปัญญาประดิษฐ์ เครือข่ายประสาท ตรรกศาสตร์คลุมเครือ ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม |
ทสคพ 662 การรู้จำรูปแบบขั้นสูง | ITCS 663 การประมวลผลภาพและสัญญาณ |
พื้นฐานของลักษณะเฉพาะและการรู้จำแบบ และลักษณะขั้นมูลฐานของสิ่งที่สนใจใน รูปแบบของข้อมูลเชิงตัวเลข เครื่องมือและทฤษฎีพื้นฐานสำหรับปัญหาเกี่ยวกับการเข้าใจสัญญาณและภาพเพื่อการประยุกต์ด้านคอมพิวเตอร์วิทัศน์ การรู้จำหน้า การรู้จำท่าทาง การรู้จำคำพูด การรู้จำอารมณ์ การวิเคราะห์สัญญาณทางสรีรวิทยา ความก้าวหน้าของขั้นตอนวิธีการรู้จำแบบ ทฤษฎีการตัดสินใจ การจำแนกและการรู้จำเชิงสถิติ การสกัดและการเลือกลักษณะ ทฤษฎีการประมาณค่าเชิงสถิติ ตรรกศาสตร์คลุมเครือ เครือข่ายประสาท ตัวแบบมาร์คอฟเชิงซ่อน การคำนวณเชิงวิวัฒน์ ความซับซ้อนและความยุ่งเหยิง | พื้นฐานของการประมวลผลภาพและสัญญาณ หลักการและขั้นตอนวิธีสำหรับการวิเคราะห์ภาพ การกรองและการสกัดลักษณะ การแทนและการวิเคราะห์สัญญาณไม่ต่อเนื่อง การเลือกตัวอย่าง การกรอง คอนโวลูชัน การแปลงแบบแซด การแปลงแบบฟูเรียร์ ประสบการณ์เชิงปฏิบัติในการประมวลผลภาพและสัญญาณ การประมวลผลภาพทางด้านชีวการแพทย์ การประมวลผลสัญญาณคำพูด การประมวลผลสัญญาณทางสรีรวิทยา |
ทสคพ 665 การประมวลผลภาษาธรรมชาติ | ทสคพ 667 คอมพิวเตอร์วิทัศน์ขั้นสูง |
บทบาทของความรู้ในการประมวลผลภาษา ตัวแบบและขั้นตอนวิธี ภาษา ความคิดและความเข้าใจ การแสดงแบบปกติและอัตโนมัติ สัณฐานและตัวเปลี่ยนแปรแบบสถานะจำกัด ตัวแบบเอ็นแกรมของไวยากรณ์ ป้ายระบุชั้นคำและส่วนของคำพูด ไวยากรณ์ที่ไม่ขึ้นกับบริบท การตัดคำด้วยไวยากรณ์ที่ไม่ขึ้นกับบริบทลักษณะและการรวมกัน ภาษาและความซับซ้อน การแทนความหมาย การวิเคราะห์ความหมาย อรรถศาสตร์เชิงศัพท์ ความกำกวมของคำและการค้นคืนสารสนเทศ วจนิพนธ์ การโต้ตอบ เอเจนต์ของการสนทนา การสร้างภาษาธรรมชาติ เครื่องแปลภาษา | การวิเคราะห์ การตีความ และการอนุมานจากฉากที่ซับซ้อนโดยการรับรู้ภาพเบื้องต้นกระบวนการอนุมานจากข้อมูลที่มีสัญญารบกวน และไม่แน่นอน โดยใช้แนวทางความน่าจะเป็น แนวทางเชิงสถิติและแนวทางขับเคลื่อนด้วยข้อมูล การประมวลผลภาพ การแทนข้อมูลภาพ การวิเคราะห์ความถี่ ต้นแบบเนื้อหาการแบ่งและรวมกลุ่มภาพ การตรวจหาขอบ การตรวจหาวัตถุ การคาดคะเนการเคลื่อนไหวและการติดตาม การแยกแยะโครงสร้างจากการเคลื่อนไหว การอนุมานแบบเบย์ การรู้จำวัตถุและฉาก เรขาคณิตในหลายมุมมอง ฐานข้อมูลภาพ |
ทสคพ 642 การจัดการวิศวกรรมซอฟต์แวร์ | ทสคพ 644 การประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ |
กิจกรรม วิธีการ และกระบวนการสำหรับจัดการวิศวกรรมซอฟต์แวร์และโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์โดยใช้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในปัจจุบัน ความแตกต่างและความเหมือนในการจัดการโครงการด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ นิยามและคำบรรยายของกรอบโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ กิจกรรมหลักและกิจกรรมภาพรวม การจัดระเบียบและการบัญญัติโครงการพัฒนาซอฟต์แวร์ การจัดระเบียบโครงการ การอำนวยการโครงการ การควบคุมโครงการ การทบทวน การประเมิน และการปิดโครงการ การจัดการความเสี่ยง มาตรฐานการปรับปรุงกระบวนการซอฟต์แวร์ ซีเอ็มเอ็มไอและไอเอสโอ | บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของกลุ่มประกันคุณภาพ แผนงานของการประกันคุณภาพในการพัฒนาซอฟต์แวร์ วิธีการประกันคุณภาพ การนำซอฟต์แวร์มาใช้อีกครั้ง ตัววัดและตัวแบบในด้านวิศวกรรมคุณภาพของซอฟต์แวร์ |
ทสคพ 646 วิศวกรรมความต้องการ | ทสคพ 651 การออกแบบและการพัฒนาที่ขับเคลื่อนด้วยแบบจำลอง |
แนวคิดหลักและกิจกรรมในวิศวกรรมความต้องการของระบบ การสกัดความต้องการ การวิเคราะห์ การจำลอง และข้อกำหนดความต้องการของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ การตรวจสอบความสมเหตุสมผลของความต้องการ การจัดการการเปลี่ยนแปลงความต้องการ การตรวจสอบความต้องการย้อนกลับ การวัดและคุณภาพของความต้องการ | บริบทของการออกแบบและการพัฒนาซอฟต์แวร์ กระบวนการออกแบบซอฟต์แวร์ ประเด็นหลักในการออกแบบซอฟต์แวร์ การควบคุมภาวะการใช้งานพร้อมกันและการจัดการเหตุการณ์ การกระจายของส่วนประกอบ การจัดการข้อผิดพลาดและข้อยกเว้น และการคงทนต่อความผิดพร่อง การคงอยู่ของข้อมูล กลยุทธ์และวิธีการออกแบบซอฟต์แวร์ วิศวกรรมซอฟต์แวร์ที่ขับเคลื่อนด้วยการสร้างแบบจำลอง สถาปัตยกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยการสร้างแบบจำลอง แบบแผนการออกแบบ กรอบการออกแบบ การวิเคราะห์และการประเมินผลคุณภาพการออกแบบซอฟต์แวร์ |
ทสคพ 657 การตรวจสอบความสมเหตุสมผลและการทวนสอบ | ทสคพ 571 วิธีเชิงตัวเลขสำหรับการทำให้เหมาะสมที่สุดเชิงคณิตศาสตร์ |
พื้นฐานคุณภาพซอฟต์แวร์และการประกันคุณภาพซอฟต์แวร์ กระบวนการและเทคนิคการจัดการคุณภาพซอฟต์แวร์ เทคนิคแบบอพลวัตและแบบพลวัตสำหรับการตรวจสอบระบบ นิยามของการตรวจสอบความสมเหตุสมผลและการทวนสอบ เทคนิคการตรวจสอบความสมเหตุสมผลและการทวนสอบ การทดสอบ การแสดงให้เห็น การตรวจสอบย้อนกลับได้ การวิเคราะห์ การตรวจสอบ การทบทวนแบบกลุ่ม การตรวจตลอด การตรวจสอบ | ประเด็นการคำนวณที่เกี่ยข้องกับผลเฉลยของปัญหาการเขียนโปรแกรมเชิงเส้น เชิงตัวเลข และไม่เชิงเส้น การวิเคราะห์ความซับซ้อนและขั้นตอนวิธีแบบโครงสร้าง ผลลัพธ์ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะของขั้นตอนวิธี การสำรวจหาซอฟต์แวร์เชิงตัวเลขที่สำคัญ การแก้ไขเพิ่มเติม และพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงตัวเลข |
ทสคพ 695 การศึกษาอิสระ | ทสคพ 699 วิทยานิพนธ์ |
ทสคพ 898 วิทยานิพนธ์ | |
การศึกษาในเชิงลึกของหัวข้อเฉพาะทางวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่น่าสนใจ นักศึกษาเลือกหัวข้อโดยการปรึกษาอาจารย์ที่ปรึกษา และทำการศึกษาอย่างสมบูรณ์ภายใต้คำแนะนำและดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา | การระบุโครงร่างงานวิจัย การดำเนินงานวิจัยโดยตระหนักถึงจริยธรรมการวิจัย การรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การตีความผลการวิจัย และรายงานผลการวิจัยเป็นวิทยานิพนธ์ การนำเสนอและการตีพิมพ์งานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่เชื่อถือได้ |
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา แผน 1.1 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอก โดยทำวิทยานิพนธ์อย่างเดียว
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทางเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
- มีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.5 หรือเทียบเท่า
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท แผนการศึกษาที่มีการทำวิทยานิพนธ์ และมีผลงานทางวิชาการซึ่งมิใช่ส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญา ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
- ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว ได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา แผน 2.1 สำหรับผู้ที่สำเร็จหลักสูตรปริญญาโทแล้วเข้าศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาเอก โดยทำวิทยานิพนธ์และศึกษารายวิชา
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หรือสาขาที่เกี่ยวข้องทางเทคโนโลยีสารสนเทศ จากสถาบันการศึกษาที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง
- โดยมีระดับคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่ต่ำกว่า 3.0 หรือเทียบเท่า
- ผู้ที่มีคุณสมบัตินอกเหนือจากเกณฑ์ดังกล่าว ได้รับการพิจารณาให้สมัครเข้ารับการคัดเลือกเข้าศึกษาตามดุลยพินิจของประธานหลักสูตร คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
เอกสารประกอบการสมัคร
- ใบปริญญาบัตร วุฒิปริญญาตรี หรืออนุปริญญาโท หรือประกาศนียบัตรเทียบเท่า
- ใบรับรองผลการเรียน ฉบับสมบูรณ์ (ภาษาอังกฤษ)
- บัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 3 รูป
- จดหมายแนะนำผู้สมัคร (Letter of Recommendation) 2 ฉบับ
- จดหมายแนะนำตัวเอง (Statement of Purpose)
- ผลคะแนน TOEFL หรือ IELTS
รายการเอกสารเพิ่มเติม
- ประวัติย่อ (Resume)
- งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์
- ประกาศนียบัตรผลงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
กำหนดการรับสมัคร (ปีการศึกษา 2566)
—–กำหนดการรับสมัคร จะประกาศให้ทราบอีกครั้ง—–
ขั้นตอนการสมัคร
การรับเข้าศึกษา ผู้สมัครต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้
- สมัครและส่งเอกสารประกอบการสมัครผ่านช่องทางออนไลน์ที่เว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย
- ผ่านการสอบสัมภาษณ์
- ผ่านการทดสอบการนำเสนอผลงานวิจัย
ปีการศึกษา | ค่าธรรมเนียมการศึกษา | ค่าใช้จ่าย (ตลอดหลักสูตร) | |||
นักศึกษาต่างชาติ | นักศึกษาไทย | ||||
บาท | USD | บาท | USD | ||
[1 USD ~ 33 บาท] | [1 USD ~ 33 บาท] | ||||
2564 | แผน 1 (วิทยานิพนธ์) | 512,700 | 15,600 | 420,450 | 12,800 |
แผน 1 (วิทยานิพนธ์ และ รายวิชา) | 575,700 | 17,500 | 463,200 | 14,100 |
- อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาสำหรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ทุนการศึกษา
มีทุนการศึกษาบางส่วนสำหรับนักศึกษาที่มีความโดดเด่น ผู้สมัครสามารถสมัครรรับทุนการศึกษาได้ โดยกรอกแบบฟอร์มใบสมัครรับทุนการศึกษา ทุนการศึกษาจะได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมกาหลักสูตรฯ เป็นกรณี ๆ ไป
Overview
ปัจจุบัน การเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีขั้นสูงส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกและการพัฒนาสังคม ซึ่งสภาพแวดล้อมที่ท้าทายนี้ก่อให้เกิดความต้องการที่สำคัญและโอกาสที่ดีสำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ที่สามารถปลดล็อกศักยภาพของนวัตกรรมไอทีและธุรกิจได้อย่างเต็มที่
หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มหาวิทยาลัยมหิดล มุ่งผลิตผู้สำเร็จการศึกษาที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญ ในด้านการตรวจสอบ การสื่อสาร และการปฏิบัติ อีกทั้งยังมีความสามารถในการแข่งขัน ความสามารถในการผลิตผลงานวิจัย ตลอดจนมีความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานในแวดวงอุตสาหกรรมด้าน IT โดยหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นหลักสูตรเชิงทฤษฎีประยุกต์ ที่มีการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการคิดเชิงวิเคราะห์ เชิงสังเคราะห์ และเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียน หลักสูตรนี้ไม่เพียงแต่สอนความรู้ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ทั่วไป แต่ยังสอนแนวคิดเชิงลึกและประสบการณ์การการทำวิจัยเฉพาะ 5 ด้านอีกด้วย :
- Data and Knowledge Management
- Intelligent Systems
- Interactive Multimedia Systems
- Networks, Systems, and Security
- Software Engineering