Get a Grip on Tech,
Get a Brighter Future
@ICT Mahidol
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เป็นหลักสูตรที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอนทุกวิชา ทำให้บัณฑิตมีความสามารถในการสื่อสารทั้งการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการทำงานและสามารถแข่งขันในระดับสากลได้ โดยมาพร้อมกับ 8 specializations ด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อตอบโจทย์ตลาดแรงงานด้าน IT ในปัจจุบัน
ปรัชญาการศึกษา
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) จัดการเรียนการสอนโดยใช้พื้นฐานปรัชญาการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาประสบความสำเร็จทางการศึกษา ผ่านการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (learning-centered education) การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์เป็นหลัก (outcome-based education) และเน้นให้นักศึกษาสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (constructivism) นอกจากนี้ หลักสูตรนี้ ยังใช้แนวคิดการออกแบบการเรียนการสอนแบบย้อนกลับ (Backward Design Approach) ในการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร ให้มีความสอดคล้องกับวิธีการสอน การเรียนรู้ และการประเมินผล
ในการสร้างเสริมประสบการณ์ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) และทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้แก่นักศึกษา หลักสูตรนี้ เน้นจัดการเรียนการสอนแบบเชิงรุก เช่น การเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรม และการเรียนรู้ผ่านการจัดทำโครงงาน โดยมีคณาจารย์เป็นผู้สอนวิชาพื้นฐานทางทฤษฎีเพื่อสร้างพื้นฐานความรู้ที่มั่นคง ซึ่งส่งผลให้นักศึกษาสามารถสร้างเสริมความรู้และทักษะของตนเองได้
หลักสูตรของเรามุ่งผลิตบัณฑิตด้าน ICT ให้มีความรู้เชิงลึก ความคิดสร้างสรรค์ ทักษะการพัฒนางานวิจัย ทักษะเชิงปฏิบัติการ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ รวมถึงความสามารถในการสรรค์สร้างองค์ความรู้ใหม่ บัณฑิตที่จบจากหลักสูตรของเราจะมีความสามารถในการแข่งขันในตลาดแรงงานระดับโลก รวมทั้งมีความรับผิดชอบทางจริยธรรม และทักษะการเป็นผู้นำ
วิสัยทัศน์
มุ่งสู่การศึกษาและการวิจัยสหวิชาชีพด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ระดับโลก
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะในวิชาทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร เป็นอย่างดีโดยมีความรอบรู้ในด้านวิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการวิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาคอมพิวเตอร์ซอฟต์แวร์ และประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความเป็นมืออาชีพ มีจรรยาบรรณ มีความรับผิดชอบต่อสังคม และเคารพต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการแก้ปัญหา คิดวิเคราะห์ นำเสนอและสร้างสรรค์ผลงานโดยอยู่บนหลักการและเหตุผลได้ด้วยตนเอง
- เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21 และทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่จำเป็นในการประกอบวิชาชีพและเรียนรู้ศาสตร์ทางคอมพิวเตอร์เพิ่มเติม
ข้อมูลทั่วไป
ชื่อหลักสูตร | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (นานาชาติ) |
ที่อยู่ | คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170 |
ติดต่อ |
Tel: +66 02 441-0909 / Fax. +66 02 441-0808 E-mail: ict@mahidol.ac.th Website: http://www.ict.mahidol.ac.th |
ปีที่ก่อตั้ง | ปี 2552 จัดตั้งเป็น “คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร” (กำเนิดจากภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ภายใต้คณะวิทยาศาสตร์ และสำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ปี 2531) |
ชื่อปริญญาและสาขาวิชา | วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วท.บ. (เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) |
ภาษาที่ใช้ | ภาษาอังกฤษ |
การรับเข้าศึกษา | รับนักศึกษาไทยและนักศึกษาต่างประเทศที่มีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับดี |
สถานที่จัดการเรียนการสอน
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา
ระบบการจัดการศึกษา
ระบบ 2 ภาคการศึกษา/ปี
ภาคฤดูร้อน มีการจัดการเรียนการสอนภาคฤดูร้อน โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณา และต้องได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
วัน-เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
- ภาคต้น : เดือนสิงหาคม ถึง เดือนธันวาคม
- ภาคปลาย : เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม
- ภาคฤดูร้อน : เดือนมิถุนายน ถึง เดือนกรกฎาคม
ค่าเล่าเรียน
ระยะเวลาการสำเร็จการศึกษา
- ระยะเวลาในการสำเร็จการศึกษา 4 ปีการศึกษาหรือน้อยกว่า และให้ศึกษาอย่างมากได้ไม่เกิน 8 ปีการศึกษา
- จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต
เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา
- นักศึกษาสามารถสำเร็จการศึกษาและได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) เมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้:
(1) เรียนครบตามจำนวนหน่วยกิตและรายวิชา และผ่านเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร โดยจะต้องมีหน่วยกิตขั้นต่ำอย่างน้อย 120 หน่วยกิต ประกอบด้วย หมวดวิชาศึกษาทั่วไป อย่างน้อย 30 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะ อย่างน้อย 84 หน่วยกิต และหมวดวิชาเลือกเสรี อย่างน้อย 6 หน่วยกิต
(2) มีคะแนนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร (CGPA) ไม่น้อยกว่า 2.00
(3) ผ่านการสอบวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษ โดยมีระดับขั้นต่ำ ดังนี้ TOEFL PBT 525 / CBT 196 / IBT 70 / IELTS 5.5 / TOEIC 620 หรือผ่านเกณฑ์มาตรฐานอื่น ๆ ตามที่คณะและมหาวิทยาลัยกำหนด
(4) ได้เกรดระดับ C เป็นอย่างน้อยในวิชาการเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน (Fundamental of Programming) วิชาการพูดในที่สาธารณะและการนำเสนอ (Public Speaking and Presentation) และวิชาการเขียนเชิงวิชาการ (Academic Writing)
(5) ไม่มีหนี้สินกับมหาวิทยาลัยมหิดล
(6) ไม่อยู่ในสถานภาพลาพักการศึกษา - เพื่อเป็นการเชิดชูนักศึกษาที่มีผลการเรียนโดดเด่น นักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ย (GPA) สูง จะสำเร็จการศึกษาพร้อมได้รับเกียรตินิยม ดังต่อไปนี้ เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (CGPA) ไม่น้อยกว่า 3.50 เกียรตินิยมอันดับสอง มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (CGPA) ไม่น้อยกว่า 3.25 แต่ไม่ถึง 3.50 ไม่เคยได้รับเกรด ‘F’, ‘W’ หรือ ‘I’ ในรายวิชาใด ๆ และไม่เคยปรับเกรดรายวิชาใด ๆ รวมถึงสำเร็จการศึกษาในระยะเวลา 4 ปีนับจากวันที่ลงทะเบียนครั้งแรก
- การขอสำเร็จการศึกษา นักศึกษาต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดต่อไปนี้
(1) เป็นนักศึกษาที่ลงทะเบียนและสอบผ่านทุกรายวิชาตามแผนการศึกษาของหลักสูตร
(2) ผ่านข้อกำหนดของวิชาแกนและกิจกรรมหลักตามที่คณะและมหาวิทยาลัยมหิดลกำหนด
(3) ผ่านการสอบวัดระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ที่คณะกำหนด
(4) นักศึกษาที่ปฏิบัติตามข้อกำหนด (1) และ (2) สามารถยื่นคำร้องขอสำเร็จการศึกษาต่องานทะเบียนภายในเวลาที่มหาวิทยาลัยกำหนด มิเช่นนั้นจะไม่ได้รับการพิจารณาสำเร็จการศึกษาภายในภาคการศึกษานั้น - ในกรณีที่นักศึกษาไม่ผ่านเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) ตามที่ระบุในข้อ 3.1 นักศึกษาอาจมีสิทธิ์ได้รับอนุปริญญา สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) เมื่อปฏิบัติตามเงื่อนไขต่อไปนี้:
(1) นักศึกษาต้องสอบผ่านการเรียนรู้ทั้งหมดที่ระบุสำหรับอนุปริญญาและสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร โดยจะต้องมีหน่วยกิตขั้นต่ำอย่างน้อย 100 หน่วยกิต ประกอบด้วย หมวดวิชาศึกษาทั่วไปอย่างน้อย 24 หน่วยกิต หมวดวิชาเฉพาะอย่างน้อย 45 หน่วยกิต และหมวดวิชาเลือกเสรีอย่างน้อย 3 หน่วยกิต
(2) มีคะแนนเฉลี่ยสะสม (CGPA) ไม่น้อยกว่า 2.00 เมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับอนุปริญญา
โครงสร้างหลักสูตร
(1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
30 |
หน่วยกิต |
ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล |
2 |
หน่วยกิต |
ทักษะความเข้าใจและสามารถดำเนินชีวิตให้เป็นผู้มีสุขภาพดี |
2 |
หน่วยกิต |
ทักษะความเข้าใจและปฏิบัติเป็นในด้านสิ่งแวดล้อม |
2 |
หน่วยกิต |
ทักษะความเข้าใจและปฏิบัติเป็นในด้านการเงินเศรษฐกิจและธุรกิจ |
2 |
หน่วยกิต |
ทักษะความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพความเป็นอยู่ของกลุ่มความหลากหลายทางสภาพแวดล้อม/วัฒนธรรม |
2 |
หน่วยกิต |
ทักษะความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติเป็นในฐานะสมาชิกหนึ่งในสังคม |
2 |
หน่วยกิต |
รายวิชาภาษาต่างประเทศ |
12 |
หน่วยกิต |
(2) หมวดวิชาการศึกษาพิเศษ |
84 |
หน่วยกิต |
วิชาแกน |
12 |
หน่วยกิต |
วิชาบังคับ |
48 |
หน่วยกิต |
วิชาเลือกเฉพาะทาง (Specialization) |
18 |
หน่วยกิต |
วิชาด้านการศึกษาจากประสบการณ์จริงและโครงงานวิจัยระดับปริญญาตรี (Capstone Courses) |
6 |
หน่วยกิต |
(3) หมวดวิชาเลือกเสรี |
6 |
หน่วยกิต |
แผนการศึกษา
ภาคการศึกษาที่ 1 |
|||||
ปี |
ชื่อรายวิชา |
หน่วยกิต |
รายวิชาบังคับเรียนก่อน |
||
บรรยาย |
ปฎิบัติการ |
||||
ปีที่ 1 |
ทสภษ 111 |
ภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค 1 |
1 |
1 |
– |
|
ทสคพ 111 |
พีชคณิตเชิงเส้นและแคลคูลัสสำหรับการคำนวณ |
3 |
– |
– |
|
ทสคพ 112 |
โครงสร้างไม่ต่อเนื่อง |
3 |
– |
– |
|
ทสคพ 113 |
การเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน |
2 |
1 |
– |
|
ทสคพ 114 |
จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์ขั้นแนะนำ |
1 |
– |
– |
|
|
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
8 |
|
|
ภาคการศึกษาที่ 2 |
|||||
ปี |
ชื่อรายวิชา |
หน่วยกิต |
รายวิชาบังคับเรียนก่อน |
||
บรรยาย |
ปฎิบัติการ |
||||
ปีที่ 1 |
ทสภษ 121 |
ทักษะการอ่าน |
1 |
1 |
ทสภษ 111 ภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค 1 |
|
ทสคพ 121 |
ความน่าจะเป็นและสถิติสำหรับการคำนวณ |
3 |
– |
– |
|
ทสคพ 122 |
ระเบียบวิธีเชิงตัวเลข |
3 |
– |
– |
|
ทสคพ 123 |
การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ |
2 |
1 |
ทสคพ 113 การเขียนโปรแกรมขั้นพื้นฐาน |
|
ทสคพ 124 |
ระบบดิจิทัลเบื้องต้น |
3 |
– |
– |
|
ทสคพ 126 |
ความเป็นผู้ประกอบการขั้นแนะนำ |
3 |
– |
– |
|
|
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
4 |
|
|
ภาคการศึกษาที่ 1 |
|||||
ปี |
ชื่อรายวิชา |
หน่วยกิต |
รายวิชาบังคับเรียนก่อน |
||
บรรยาย |
ปฎิบัติการ |
||||
ปีที่ 2 |
ทสภษ 211 |
ภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค 2 |
1 |
1 |
– |
|
ทสคพ 213 |
โครงสร้างและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ |
3 |
– |
ทสคพ 124 ระบบดิจิทัลเบื้องต้น |
|
ทสคพ 214 |
โครงสร้างข้อมูลและการวิเคราะห์ขั้นตอนวิธี |
3 |
– |
ทสคพ 123 การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ |
|
ทสคพ 215 |
เทคโนโลยีสื่อหลายแบบเชิงปฏิสัมพันธ์ขั้นแนะนำ |
3 |
– |
– |
|
ทสคพ 216 |
ระบบฐานข้อมูลขั้นพื้นฐาน |
3 |
– |
– |
|
ทสคพ 217 |
การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ |
3 |
– |
– |
|
|
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
2 |
|
|
|
|
หมวดวิชาเลือกเสรี |
2 |
|
|
ภาคการศึกษาที่ 2 |
|||||
ปี |
ชื่อรายวิชา |
หน่วยกิต |
รายวิชาบังคับเรียนก่อน |
||
บรรยาย |
ปฎิบัติการ |
||||
ปีที่ 2 |
ทสภษ 221 |
การพูดในที่สาธารณะและการนำเสนอ |
1 |
1 |
– |
|
ทสคพ 223 |
การพัฒนาเว็บขั้นแนะนำ |
2 |
1 |
ทสคพ 123 การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ
ทสคพ 216 ระบบฐานข้อมูลขั้นพื้นฐาน |
|
ทสคพ 224 |
พื้นฐานการพัฒนาซอฟต์แวร์และระบบสารสนเทศ |
3 |
– |
– |
|
ทสคพ 225 |
หลักการของระบบปฏิบัติการ |
3 |
– |
ทสคพ 213 โครงสร้างและสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์
|
|
ทสคพ 226 |
เครือข่ายสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ขั้นแนะนำ |
3 |
– |
ทสคพ 217 การสื่อสารข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ |
|
ทสคพ 227 |
วิทยาการข้อมูลขั้นแนะนำ |
3 |
– |
– |
|
|
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
2 |
|
|
|
|
หมวดวิชาเลือกเสรี |
2 |
|
|
ภาคการศึกษาที่ 1 |
|||||
ปี |
ชื่อรายวิชา |
หน่วยกิต |
รายวิชาบังคับเรียนก่อน |
||
บรรยาย |
ปฎิบัติการ |
||||
ปีที่ 3 |
ทสภษ 311 |
การสื่อสารทางธุรกิจ |
1 |
1 |
ทสภษ 121 ทักษะการอ่าน
|
|
ทสคพ 311 |
จริยธรรมทางคอมพิวเตอร์และธุรกิจ |
2 |
– |
– |
|
ทสคพ 312 |
ความมั่นคงของคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร |
3 |
– |
ทสคพ 225 หลักการของระบบปฏิบัติการ |
|
ทสคพ XXX |
Elective courses (Specialization) หมวดวิชาเลือกเฉพาะทาง (Specialization) |
6 |
|
|
|
|
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป |
4 |
|
|
|
|
หมวดวิชาเลือกเสรี |
2 |
|
|
ภาคการศึกษาที่ 2 |
|||||
ปี |
ชื่อรายวิชา |
หน่วยกิต |
รายวิชาบังคับเรียนก่อน |
||
บรรยาย |
ปฎิบัติการ |
||||
ปีที่ 3 |
ทสภษ 321 |
การเขียนเชิงวิชาการ |
1 |
1 |
ทสภษ 121 ทักษะการอ่าน ทสภษ 211 ภาษาอังกฤษเชิงเทคนิค 2 |
|
ทสคพ XXX |
หมวดวิชาเลือกเฉพาะทาง (Specialization) |
9 |
|
|
|
|
หมวดวิชาเลือกเสรี |
2 |
|
|
ภาคการศึกษาที่ 1 |
|||||
ปี |
ชื่อรายวิชา |
หน่วยกิต |
รายวิชาบังคับเรียนก่อน |
||
บรรยาย |
ปฎิบัติการ |
||||
ปีที่ 4 |
|
วิชาด้านการศึกษาจากประสบการณ์จริงและโครงงานวิจัยระดับปริญญาตรี (Capstone Courses) |
6 |
|
|
|
ทสคพ XXX |
หมวดวิชาเลือกเฉพาะทาง (Specialization) |
3 |
|
|
ภาคการศึกษาที่ 2 |
|||||
ปี |
ชื่อรายวิชา |
หน่วยกิต |
รายวิชาบังคับเรียนก่อน |
||
บรรยาย |
ปฎิบัติการ |
||||
ปีที่ 4 |
|
วิชาด้านการศึกษาจากประสบการณ์จริงและโครงงานวิจัยระดับปริญญาตรี (Capstone Courses) |
6 |
|
แนวปฏิบัติการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล
แนวปฏิบัติ ในการจัดการเรียนการสอน |
|
แนวปฏิบัติ ในการ ประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา |
|
ผลลัพธ์การเรียนรู้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร |
|
ผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะกลุ่ม SLOs |
|
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
- ด้านวิชาการ เช่น ผู้สอนวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ นักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล วิศวกรข้อมูล
- ด้านการออกแบบและพัฒนาระบบ เช่น นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ นักออกแบบสถาปัตยกรรมองค์กร นักพัฒนาระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ นักเขียนโปรแกรม นักพัฒนาเว็บไซต์ นักออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ วิศวกรซอฟต์แวร์ นักพัฒนามัลติมีเดีย นักพัฒนาเกม
- ด้านการทดสอบระบบ เช่น นักทดสอบซอฟต์แวร์ นักวิเคราะห์ระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์
- ด้านการบริหารและควบคุมระบบ เช่น ผู้ดูแลฐานข้อมูล ผู้ดูแลเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย ผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Download
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) เปิดสอน 8 สาขาวิชาเฉพาะทาง (Specialization) ที่ตอบโจทย์ตลาดแรงงานและครอบคลุมสายงานด้าน IT นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต จากสาขาวิชาเฉพาะทางทั้งหมด ตามระบุในรายละเอียดด้านล่าง นอกจากนี้ นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต จากสาขาวิชาเฉพาะสาขาใดสาขาหนึ่ง เพื่อได้รับการรับรองว่าเป็นสาขาวิชาโท
วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ |
มุ่งเน้นการประยุกต์ใช้ทฤษฎีวิทยาการคอมพิวเตอร์เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริง นักศึกษาจะได้ศึกษาหัวข้อหลักที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เช่น การวิเคราะห์อัลกอริทึม ระบบการทำงาน และการเขียนโปรแกรมโดยใช้ภาษาต่างๆ ทฤษฎีการคำนวณ เป็นต้น
|
ระบบฐานข้อมูล |
ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐานและแนวคิดประยุกต์ในระบบการจัดการฐานข้อมูล นักศึกษาจะได้พัฒนาทักษะทั้งทางภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติในการใช้เทคโนโลยีฐานข้อมูลกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง เช่น คลังข้อมูลและระบบธุรกิจอัจฉริยะ การบริหารฐานข้อมูล เป็นต้น
|
เครือข่ายคอมพิวเตอร์และความปลอดภัย |
นักศึกษาจะได้เรียนรู้และฝึกฝนแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และความปลอดภัยทางไซเบอร์ เช่น ระบบเครือข่ายแบบเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันในระยะจำกัด (Local Area Networks: LAN) และการบริหารจัดการเครือข่าย (Network Management) เครือข่ายไร้สาย (Wireless) อินเตอร์เน็ตสรรพสิ่ง (IoT) ระบบคลาวด์ (Cloud Computing Systems) การบำรุงรักษา การพัฒนาโปรแกรม และความปลอดภัยทางไซเบอร์ขั้นสูง
|
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ |
มุ่งเน้นศึกษาแนวทางที่เป็นระบบในกระบวนการพัฒนา การวิเคราะห์ การออกแบบ การนำไปใช้งาน การทดสอบ การบำรุงรักษา และการประกันคุณภาพของซอฟต์แวร์ นักศึกษาจะได้เรียนรู้พื้นฐานของการพัฒนาซอฟต์แวร์ เช่น การเก็บข้อมูลและการวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้งาน การพัฒนาและออกแบบซอฟต์แวร์ (software implementation) การตรวจสอบซอฟต์แวร์ (Code Review) ตลอดจนการเรียนรู้เกี่ยวกับเครื่องมือและเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการสร้างซอฟต์แวร์ เช่น Agile, Scrum
|
เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อระบบสุขภาพ |
มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันด้านสุขภาพและการดูแลสุขภาพ นักศึกษาจะได้ศึกษาพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการดูแลสุขภาพ ระบบข้อมูลทางคลินิก ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในองค์กรด้านการดูแลสุขภาพ ตลอดจนความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลในการดูแลสุขภาพ
|
เทคโนโลยีสื่อผสมเชิงโต้ตอบ |
ศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย ในการสร้างระบบที่เกี่ยวข้องกับสื่อมัลติมีเดียเพื่อสนับสนุนการทำงานในด้านต่างๆ เช่น ศิลปะ การศึกษา บันเทิง วิศวกรรม การแพทย์ และวิทยาศาสตร์ นักศึกษาจะได้ศึกษาหัวข้อที่สำคัญ เช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก การเล่าเรื่องดิจิทัลและการออกแบบภาพ เทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน (Virtual Reality) เป็นต้น
|
การบริหารจัดการระบบสารสนเทศ |
มุ่งเน้นวิธีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) และระบบสารสนเทศ (IS) เพื่อสนับสนุนและปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร นักศึกษาจะได้เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการระบบสารสนเทศ สารสนเทศและการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ การออกแบบประสบการณ์เบื้องต้น ฯลฯ
|
ปัญญาประดิษฐ์ |
ศึกษาพื้นฐานและแนวคิดการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในด้านต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาในทางปฏิบัติ นักศึกษาจะได้เรียนรู้วิชาหลักด้านปัญญาประดิษฐ์ เช่น การเรียนรู้ของเครื่องเบื้องต้น (Introduction to Machine Learning) การเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) การประมวลผลภาษาธรรมชาติเบื้องต้น (Introduction to Natural Language Processing) คอมพิวเตอร์วิทัศน์เบื้องต้น (Introduction to Computer Vision) เป็นต้น
|
รอบ 1 ICT – Portfolio
รับสมัคร: 2-18 กันยายน 2567
สมัครได้ที่: www.ict.mahidol.ac.th
คุณสมบัติทางการศึกษา
1.กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
-
- มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แผนการเรียน วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์–คอมพิวเตอร์, คณิต–คอมพิวเตอร์
- Grade 12 / Year 13
- มีคะแนน GED 145 คะแนน ในแต่ละรายวิชา
หมายเหตุ: สำหรับนักเรียนโรงเรียนนานาชาติ จะต้องมีหน่วยกิต คณิต ≥ 7 หน่วยกิต, วิทย์ ≥ 9 หน่วยกิต, อังกฤษ ≥ 9 หน่วยกิต หรือเรียนรายวิชาด้านคอมพิวเตอร์มาไม่น้อยกว่า 4 วิชา หรือ 4 ภาคการศึกษา
2.มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 4 ภาคการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.50
หมายเหตุ: สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร
- Portfolio ภาษาอังกฤษ (.pdf จำนวน 1 ไฟล์ ไม่เกิน 10 หน้า ขนาดไม่เกิน 3 MB เท่านั้น)
- เรียงความภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 (.pdf) ในหัวข้อ “เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต”
- Video Presentation ประวัติและผลงาน เป็นภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 3 นาที (ให้จัดทำเป็นไฟล์ .mp4 และ Upload ขึ้น YouTube หรือ Google Drive)
- ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ฉบับสมบูรณ์ หรืออย่างน้อย 4 ภาคการศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 (.pdf)
- รูปถ่าย เป็นไฟล์นามสกุล .jpg หรือ .jpeg โดยขนาดมีความกว้าง 230 pixel ความสูง 312 pixel ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 150 KB
- สำเนาบัตรประชาชน (สำหรับนักเรียนไทย) หรือ สำเนาหน้าแรกของหนังสือเดินทาง (สำหรับนักเรียนต่างชาติ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
- สำเนาทะเบียนบ้าน (สำหรับผู้สมัครที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **
—————————————————————————————————————-
รอบ 2 MU – Portfolio (TCAS1)
รอบ 1/1: รับสมัคร 1 ตุลาคม 2567 เวลา 09.30 น. – 16 ตุลาคม 2567 เวลา 12.00 น.
รอบ 1/2: รับสมัคร 2 ธันวาคม 2567 เวลา 09.30 น. – 8 มกราคม 2568 เวลา 12.00 น.
สมัครได้ที่: https://tcas.mahidol.ac.th/
คุณสมบัติทางการศึกษา
- กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาในระดับต่างๆ ดังนี้
- มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) แผนการเรียน วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์–คอมพิวเตอร์, คณิต–คอมพิวเตอร์
- Grade 12 / Year 13
- มีคะแนน GED 145 คะแนน ในแต่ละรายวิชา
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 4 ภาคการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.50
- มีคะแนนเฉลี่ยสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แต่ละสาระการเรียนรู้ไม่ต่ำกว่า 2.50
หมายเหตุ: สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร
- Portfolio ภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 10 หน้า(.pdf จำนวน 1 ไฟล์)
- เรียงความภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 (.pdf) ในหัวข้อ “เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต”
- Video Presentation ประวัติและผลงาน เป็นภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 3 นาที(.mp4)
- ใบแสดงผลการศึกษา (ปพ.1) ฉบับสมบูรณ์ หรือ 4 ภาคการศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 (.pdf)
- รูปถ่าย(.jpg)
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง(.pdf)
- สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง(.pdf)
** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **
—————————————————————————————————————-
รอบ 3 ICT – รับตรง จัดสอบ
รับสมัคร: กุมภาพันธ์ 2568
สมัครได้ที่: www.ict.mahidol.ac.th
คุณสมบัติทางการศึกษา
- กำลังศึกษาอยู่ หรือ เป็นผู้สำเร็จการศึกษาทุกแผนการศึกษา ในระดับต่างๆ ดังนี้
-
- มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่าทุกแผนการศึกษาหรือ
- Grade 12 หรือ
- มีผลสอบ GED ไม่ต่ำกว่า 145 คะแนนในแต่ละรายวิชา
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 5 ภาคการศึกษา ไม่น้อยกว่า 2.50
การสอบ
- สอบข้อเขียนของคณะ 4 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และคอมพิวเตร์
- สอบชิงทุนการศึกษา
เอกสารประกอบการสมัคร
- ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ฉบับสมบูรณ์ หรืออย่างน้อย 5 ภาคการศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.50 (.pdf)
- รูปถ่ายเป็นไฟล์นามสกุล.jpg หรือ .jpeg โดยมีความกว้าง 230 pixel ความสูง 312 pixel ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 150 KB
- สำเนาบัตรประชาชน (สำหรับนักเรียนไทย) หรือ สำเนาหน้าแรกของหนังสือเดินทาง (สำหรับนักเรียนต่างชาติ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
- สำเนาทะเบียนบ้าน (สำหรับผู้สมัครที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **
—————————————————————————————————————-
รอบ 4 Quota (TCAS 2)
รับสมัคร: 20 มีนาคม 2568 เวลา 09.30 น. – 8 เมษายน 2568 เวลา 23.59 น.
สมัครได้ที่: https://tcas.mahidol.ac.th/
คุณสมบัติทางการศึกษา
แผนการศึกษา : วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์-คอม, คณิต-คอม
วุฒิการศึกษา
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษาอยู่ ในระดับต่างๆ ดังนี้
- มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือ
- มีคะแนน GED 145 คะแนน ในแต่ละรายวิชา
- ตรงตามเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
- เป็นนักเรียนในกลุ่มโรงเรียน MoU ได้แก่
- โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์
- โรงเรียนอัสสัมชัญ
- โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม
- โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนเวนต์
- โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี
- โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม)
- โรงเรียนนาคประสิทธิ์ มูลนิธิวัดบางช้างเหนือ
- โรงเรียนสตรีวิทยา2 ในพระราชูปถัมภ์
- โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
- โรงเรียนกรพิทักษ์ศึกษา
- โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
- โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
- โรงเรียนสุคนธีรวิทย์
- โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หรือ
- เป็นนักเรียนที่ผ่านการเข้าค่าย สอวน. / ค่ายโอลิมปิกวิชาการ หรือ
- ได้รับรางวัลการแข่งขันด้าน IT ในระดับจังหวัดขึ้นไป
- เป็นนักเรียนในกลุ่มโรงเรียน MoU ได้แก่
- มีคะแนนสอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
-
- TGAT, TPAT3
- TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 30 คะแนน
- TPAT3 ≥ 45 คะแนน
- TGAT, TPAT3
หรือ
-
- A-Level
- คณิตศาสตร์ 1 ≥ 20 คะแนน
- ภาษาอังกฤษ ≥ 50 คะแนน
- A-Level
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) อย่างน้อย 5 ภาคการศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 3.00
- มีคะแนนเฉลี่ยสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แต่ละสาระการเรียนรู้ไม่ต่ำกว่า 3.00
หมายเหตุ: สอบสัมภาษณ์เป็นภาษาอังกฤษ
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร
- เรียงความภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4 (.pdf) ในหัวข้อ “เพราะเหตุใดนักเรียนจึงมีความประสงค์จะศึกษาต่อทางด้าน IT และคอมพิวเตอร์ และจะนำความรู้ไปประยุกต์ใช้อย่างไรในอนาคต”
- เอกสารแสดงการเป็นนักเรียนในโรงเรียนกลุ่ม MoU หรือใบประกาศนียบัตรผ่านเข้าค่าย สอวน. / ค่ายโอลิมปิกวิชาการ หรือ ใบประกาศนียบัตรผลการแข่งขันด้าน IT
- คะแนนสอบ TGAT, TPAT3 หรือ A-Level คณิตศาสตร์ 1, ภาษาอังกฤษ
- ใบแสดงผลการศึกษา (ปพ.1) ฉบับสมบูรณ์ หรืออย่างน้อย 5 ภาคการศึกษา ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 3.00 (.pdf)
- รูปถ่าย (.jpg)
- สำเนาบัตรประชาชน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
- สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **
—————————————————————————————————————-
รอบ 5 Admission (TCAS 3)
รับสมัคร: 6-12 พฤษภาคม 2568
สมัครได้ที่: student.mytcas.com/
คุณสมบัติทางการศึกษา
แผนการศึกษา : วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์-คอม, คณิต-คอม
วุฒิการศึกษา
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษาอยู่ ในระดับต่างๆ ดังนี้
- มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือ
- มีคะแนน GED 145 คะแนน ในแต่ละรายวิชา
- มีผลสอบ ดังนี้
-
- TGAT, TPAT3
- TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 30 คะแนน
- TPAT3 ≥ 45 คะแนน
- A-Level
- คณิตศาสตร์ 1 ≥ 20 คะแนน
- ภาษาอังกฤษ ≥ 50 คะแนน
- TGAT, TPAT3
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 6 ภาคการศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.50
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร
- คะแนน TGAT, TPAT3 (ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์) และ A-Level (คณิตศาสตร์ 1, ภาษาอังกฤษ)
เกณฑ์การสมัคร / การคัดเลือก
*จะประกาศให้ทราบภายหลัง*
—————————————————————————————————————-
รอบ 6 Direct Admission (TCAS 4)
รับสมัคร: มิถุนายน 2568
สมัครได้ที่: https://tcas.mahidol.ac.th/
คุณสมบัติทางการศึกษา
แผนการศึกษา : วิทย์-คณิต, ศิลป์-คำนวณ, วิทย์-คอม, คณิต-คอม
วุฒิการศึกษา
- เป็นผู้สำเร็จการศึกษา หรือ กำลังศึกษาอยู่ ในระดับต่างๆ ดังนี้
-
- มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือ
- มีคะแนน GED 145 คะแนน ในแต่ละรายวิชา
- มีคะแนนสอบอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
-
- TGAT, TPAT3
- TGAT คะแนนแต่ละ Part ≥ 30 คะแนน
- TPAT3 ≥ 45 คะแนน
- TGAT, TPAT3
หรือ
-
- A-Level
- คณิตศาสตร์ 1 ≥ 20 คะแนน
- ภาษาอังกฤษ ≥ 50 คะแนน
- A-Level
- มีผลการเรียนเฉลี่ย (GPAX) 6 ภาคการศึกษา ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ไม่น้อยกว่า 2.00
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร
- คะแนน TGAT, TPAT3 (ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์) หรือ A-Level (คณิตศาสตร์ 1, ภาษาอังกฤษ)
เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม / ประกอบการสมัคร
- ใบแสดงผลการศึกษา (Transcript) ฉบับสมบูรณ์ ที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมไม่น้อยกว่า 2.00 (.pdf)
- ผลคะแนนคณิตศาสตร์ตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (.pdf)
- ผลคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (.pdf)
- รูปถ่ายเป็นไฟล์นามสกุล.jpg หรือ .jpeg โดยมีความกว้าง 230 pixel ความสูง 312 pixel ขนาดของไฟล์ไม่เกิน 150 KB
- สำเนาบัตรประชาชน (สำหรับนักเรียนไทย) หรือ สำเนาหน้าแรกของหนังสือเดินทาง (สำหรับนักเรียนต่างชาติ) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
- สำเนาทะเบียนบ้าน (สำหรับผู้สมัครที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย) พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง (.pdf)
** หมายเหตุ ผู้สมัคร Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ **
—————————————————————————————————————-
รอบ International Direct Admissions
สมัครออนไลน์: https://academic.ict.mahidol.ac.th/admission/apply/
กำหนดการรับสมัคร รอบ International Direct Admissions 2025 | ||||
รายละเอียด | รอบ 1 | รอบ 2 | รอบ 3 | รอบ 4 |
ช่วงเวลารับสมัคร | กันยายน 2567 – พฤษภาคม 2568 | |||
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | พ.ย. 2568 (สำหรับผู้สมัครที่ส่งใบสมัครครบถ้วนภายในวันที่ 31 ต.ค. 2567) |
ก.พ. 2568 (สำหรับผู้สมัครที่ส่งใบสมัครครบถ้วนภายในวันที่ 31 ม.ค. 2568) |
เม.ย. 2568 (สำหรับผู้สมัครที่ส่งใบสมัครครบถ้วนภายในวันที่ 31 มี.ค. 2568) |
มิ.ย. 2568 (สำหรับผู้สมัครที่ส่งใบสมัครครบถ้วนภายในวันที่ 31 พ.ค. 2568) |
สอบสัมภาษณ์ | พ.ย. 2567 | ก.พ. 2568 | เม.ย. 2568 | มิ.ย. 2568 |
ประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | พ.ย. 2567 | ก.พ. 2568 | เม.ย. 2568 | มิ.ย. 2568 |
คุณสมบัติทางการศึกษา
- สำเร็จการศึกษา หรือกำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่า ตามระบบโรงเรียนไทย หรือ โรงเรียนนานาชาติในประเทศไทย หรือ จากต่างประเทศ ทุกแผนการศึกษา ดังนี้
-
- มัธยมศึกษาปีที่ 6
- Grade 12 / Year 13
- GED (145 คะแนนในแต่ละวิชา)
- มีเกรดเฉลี่ยสะสมจากโรงเรียนที่สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่า 2.50 หรือเทียบเท่า (เช่น ระดับ C+)
- มีผลการสอบผ่านคะแนนภาษาอังกฤษอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบผ่านถึงวันสมัครเข้าศึกษา ดังนี้
-
- TOEFL Paper Based Test 500 คะแนนขึ้นไป (คะแนนแต่ละ Part 49 คะแนนขึ้นไป) หรือ
- TOEFL ITP 500 คะแนนขึ้นไป (คะแนนแต่ละ Part 49 คะแนนขึ้นไป) หรือ
- TOEFL Internet Based Test 60 คะแนนขึ้นไป (คะแนนแต่ละ Part 15 คะแนนขึ้นไป) หรือ
- IELTS 5.0 คะแนนขึ้นไป (คะแนนแต่ละ Part 5.0 คะแนนขึ้นไป) หรือ
- TOEIC 600 คะแนนขึ้นไป หรือ
- SAT (Evidence-Based Reading and Writing) 400 คะแนนขึ้นไป หรือ
- The Duolingo English Test 80 คะแนนขึ้นไป (คะแนนแต่ละ Part 75 คะแนนขึ้นไป) หรือ
- AP (Advanced Placement) English Language and Composition 4 คะแนนขึ้นไป หรือ
- IB (International Baccalaureate) HL English A หรือ B 4 คะแนนขึ้นไป หรือ
- IB (International Baccalaureate) SL English A หรือ B 5 คะแนนขึ้นไป หรือ
- Cambridge IGCSE First Language English at Grade C and above/minimum Grade C
- Cambridge IGCSE English as a Second Language at Grade B and above/minimum Grade B
ยกเว้น กรณีที่ผู้สมัครเป็นชาวต่างชาติจากกลุ่มประเทศสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และสิงคโปร์ ไม่ต้องมีผลการสอบผ่านคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ดังกล่าว
- มีผลการสอบผ่านคะแนนทางด้านวิชาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งมีอายุไม่เกิน 2 ปี นับตั้งแต่วันสอบผ่านถึงวันสมัครเข้าศึกษา ดังนี้
-
- New SAT (Math) 600 คะแนนขึ้นไป หรือ
- ACT (Math) 25 คะแนนขึ้นไป หรือ
- Gaokao (Math) 70 คะแนนขึ้นไป หรือ
- AP (Advanced Placement) Calculus AB หรือ Calculus BC 4 คะแนนขึ้นไป หรือ
- IB Diploma (International Baccalaureate) HL Math หรือ Computer Science 4 คะแนนขึ้นไป หรือ
- IB Diploma (International Baccalaureate) SL Math หรือ Computer Science 5 คะแนนขึ้นไป หรือ
- Cambridge IGCSE Mathematics (0580) Extended at Grade B and above/minimum Grade B
การชำระค่าสมัครสอบ 600 บาท (ไม่สามารถขอคืนเงินค่าสมัครได้)
เอกสารประกอบการสมัคร
- ประกาศนียบัตรหรือหนังสือรับรองเทียบคุณวุฒิจากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากกระทรวงศึกษาธิการ (.pdf)
- เอกสารแสดงผลการศึกษาจากสถาบันการศึกษาที่สำเร็จการศึกษา (Transcript) (.pdf)
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน (สำหรับผู้สมัครชาวไทย) หรือ สำเนาหนังสือเดินทางที่ระบุ วัน เดือน ปีเกิด และวันหมดอายุของหนังสือเดินทาง (สำหรับผู้สมัครชาวต่างชาติ) (.pdf)
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 ใบ ถ่ายมาแล้วไม่เกิน 6 เดือน (.jpg หรือ .jpeg ขนาดไฟล์ไม่เกิน 150 KB)
- ประวัติส่วนตัว (Resume) (ถ้ามี) (.pdf)
- เรียงความเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเลือกเข้าศึกษาต่อคณะ ICT (statement of purpose) ของผู้สมัคร จำนวนไม่เกิน 2 หน้ากระดาษ A4 (.pdf)
- ผลสอบวิชาคณิตศาสตร์ตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (.pdf)
- ผลสอบวิชาภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (.pdf)
- เอกสารแสดงรางวัล เกียรติยศ ต่าง ๆ (ถ้ามี) (.pdf)
*** หมายเหตุ ผู้สมัครต้องเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ และ Upload เอกสารประกอบการสมัครทั้งหมดในระบบรับสมัครออนไลน์ ไม่ต้องนำส่งเอกสารฉบับจริงมายังคณะฯ ***
การติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
- โทรศัพท์: +66(0)2-441-0909
- อีเมล: ictadmission@mahidol.ac.th
- เฟซบุ๊ก: https://www.facebook.com/ict.mahidol.university/
- บัญชีทางการของไลน์: @ictmahidol
กำหนดการ รอบ 1 ICT – Portfolio
ลำดับ | กิจกรรม | วันที่ |
1 | รับสมัคร | 2-18 ก.ย. 2567 |
2 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | 25 ก.ย. 2567 |
3 | สอบสัมภาษณ์ | 28 ก.ย. 2567 |
4 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก | 30 ก.ย. 2567 |
5 | ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) | 5-6 ก.พ. 2568 |
6 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | 19 ก.พ. 2568 |
7 | ICT Preparatory Program | ก.ค. 2568 |
8 | เปิดภาคการศึกษา | TBA |
กำหนดการ รอบ 2 MU – Portfolio (TCAS1)
ลำดับ | กิจกรรม | รอบที่ 1/1 | รอบที่ 1/2 |
1 | รับสมัคร | 1 ต.ค. 2567 เวลา 9.30 น. – 16 ต.ค. 2567 เวลา 12.00 น. | 2 ธ.ค. 2567 เวลา 9.30 น. – 8 ม.ค. 2568 เวลา 12.00 น. |
2 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | 31 ต.ค. 2567 เวลา 9.30 น. | 17 ม.ค. 2568 เวลา 9.30 น. |
3 | สอบสัมภาษณ์ | 3 พ.ย. 2567 | 19 ม.ค. 2568 |
4 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก (ตัวจริงและตัวสำรอง) | 11 พ.ย. 2567 เวลา 9.30 น. | 23 ม.ค. 2568 เวลา 9.30 น |
5 |
กำหนดการ รอบ 3 ICT รับตรงจัดสอบ
ลำดับ | กิจกรรม | วันที่ |
1 | รับสมัคร | ก.พ. 2568 |
2 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบและสถานที่สอบข้อเขียน | TBA |
3 | สอบข้อเขียน | TBA |
4 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | TBA |
5 | สอบสัมภาษณ์ | TBA |
6 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก | TBA |
7 | ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) | TBA |
8 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | TBA |
9 | ICT Preparatory Program | TBA |
10 | เปิดภาคการศึกษา | TBA |
กำหนดการ รอบ 4 MU – Quota (TCAS 2)
ลำดับ | กิจกรรม | วันที่ |
1 | รับสมัคร | มี.ค. – เม.ย. 2568 |
2 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | TBA |
3 | สอบสัมภาษณ์ | TBA |
4 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก (ตัวจริงและตัวสำรอง) | TBA |
5 | ผู้ผ่านการคัดเลือกกลุ่มตัวจริง ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS | TBA |
6 | ผู้ผ่านการคัดเลือกกลุ่มสำรอง ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS | TBA |
7 | ประกาศรายชื่อผู้ยืนยันสิทธิ์ในระบบ MU-TCAS | TBA |
8 | ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) | TBA |
9 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | TBA |
10 | ICT Preparatory Program | TBA |
11 | เปิดภาคการศึกษา | TBA |
กำหนดการ รอบ 5 Admission (TCAS 3)
ลำดับ | กิจกรรม | วันที่ |
1 | รับสมัคร | พ.ค. 2568 |
2 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก | TBA |
3 | ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) | TBA |
4 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา |
TBA |
5 | ICT Preparatory Program | TBA |
6 | เปิดภาคการศึกษา | TBA |
กำหนดการ รอบ 6 Direct Admission (TCAS 4)
ลำดับ | กิจกรรม | วันที่ |
1 | รับสมัคร |
มิ.ย. 2568 |
2 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก | TBA |
3 | ยืนยันสิทธิ์ผ่านระบบของทปอ. (Clearing House) | TBA |
4 | ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา |
TBA |
5 | ICT Preparatory Program | TBA |
6 | เปิดภาคการศึกษา | TBA |
กำหนดการ รอบ International Direct Admissions
กำหนดการรับสมัคร รอบ International Direct Admissions 2025 | ||||
รายละเอียด | รอบ 1 | รอบ 2 | รอบ 3 | รอบ 4 |
ช่วงเวลารับสมัคร | กันยายน 2567 – พฤษภาคม 2568 | |||
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ | พ.ย. 2567 (สำหรับผู้สมัครที่ส่งใบสมัครครบถ้วนภายใน วันที่ 31 ต.ค. 2567) |
ก.พ. 2568 (สำหรับผู้สมัครที่ส่งใบสมัครครบถ้วนภายใน วันที่ 31 ม.ค. 2568) |
เม.ย. 2568 (สำหรับผู้สมัครที่ส่งใบสมัครครบถ้วนภายใน วันที่ 31 มี.ค. 2568) |
มิ.ย. 2568 (สำหรับผู้สมัครที่ส่งใบสมัครครบถ้วนภายใน วันที่ 31 พ.ค. 2568) |
สอบสัมภาษณ์ | พ.ย. 2567 | ก.พ. 2568 | เม.ย. 2568 | มิ.ย. 2568 |
ประกาศผลผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษา | พ.ย. 2567 | ก.พ. 2568 | เม.ย. 2568 | มิ.ย. 2568 |
- รายละเอียดอัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับนักศึกษาคณะ ICT
-
- อัตราค่าธรรมเนียมแบบเหมาจ่าย หลักสูตรนานาชาติ ระดับปริญญาตรี สำหรับนักศึกษาตั้งแต่รหัสประจำตัว 66xxxxx เป็นต้นไป
- อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับนักศึกษา คณะ ICT (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2562
- อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับนักศึกษา คณะ ICT (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561
- อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษา สำหรับนักศึกษา คณะ ICT พ.ศ.2559
-
- ทุนการศึกษา
-
- การให้ทุนการศึกษา สำหรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) ที่เข้าศึกษาปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป
- ทุนเรียนดีตลอดหลักสูตร / ทุนเรียนดีระหว่างปี สำหรับนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) ที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2563 เป็นต้นไป
- ทุนระหว่างปี (ทุนนักศึกษาเรียนดี / ทุนนักศึกษากิจกรรม / ทุนสนับสนุนงานบริการ) สำหรับนักศึกษาสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (หลักสูตรนานาชาติ) ที่เข้าศึกษาปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป
-